คณะเทคโนโลยี จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่ายองค์ความรู้ ในการจัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ตามช่องทาง Socail Medai

               เมื่อวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 11.30  13.00 น.  ผศ.ดร.อารยา  เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายองค์ความรู้ โดยได้มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม ดังนี้ (1) ผศ.ดร.มานิดา  สว่างเนตร นอยแบร์ท (2) อ.ดร.กันติยา เพชรสง  (3) อ.ดร.ศิริพร  ลุนพรม  (4) อ.ดร.วิมลทิพย์  สิงห์เถื่อน (5) นางรังรอง รัตนะ  ในการประชุมครั้งนี้คณะกรรมการได้ร่วมกำหนดประเด็นและกรอบระยะเวลา ในการจัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ตามช่องทาง Socail Medai ต่าง ที่อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา บุคลากร และประชาชนผู้ให้ความสนใจ สามารถเข้าถึงได้ง่าย และมีการกำหนดห้วงเวลาที่เหมาะสมในการเผยแพร่สื่ออย่างเป็นประจำ โดยจะนำร่องจัดทำสื่อชุดแรกเป็นการ Open House ของแต่ละสาขา และนำมาเผยแพร่ในกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ และจะเริ่มเผยแพร่สื่อชุดต่อไปตามลำดับ     […]

คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมชื่นชมยินดี ประจำปี 2565 ฮักแพง ฮับตอน ออนซอน เฟื่องฟ้า

  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2565 คณะผู้บริหาร-บุคลการคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมชื่นชมยินดี ประจำปี 2565 ฮักแพง ฮับตอน ออนซอน เฟื่องฟ้า ณ ห้องประชุมเฟื่องฟ้า โดยได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ช่วง กิจกรรมช่วงที่ 1 กิจกรรมตักบาตรช่วงเช้า เวลา 07.00 – 8.00 น                   คณะที่มผู้บริหาร-บุคลการคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกันตักบาตรเช้าพระภิกษุสงฆ์ 9 รูป และเจริญพุทธมนต์ ถวายภัตตาหาร ถวายปัจจัย พร้อมถวายสังฆทาน กิจรรมช่วงที่ 2 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ Special Lunch  เวลา 10.00-12.00 น.                    คณะที่มผู้บริหาร-บุคลการคณะเทคโนโลยี […]

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี จัดอบรมเชิงปฏิบัติในหัวข้อ “การออกแบบการทดลองแบบ Response Surface Methodology สำหรับการทดลองทางเทคโนโลยีชีวภาพ”

                    กระบวนการวิจัยเป็นหนึ่งในแนวทางในการหาคำตอบของประเด็นปัญหาหรือข้อสงสัยในเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหรือกระบวนการตั้งแต่การตั้งคำถาม การกำหนดสมมติฐาน วัตถุประสงค์ การออกแบบกระบวนการทดลองหรือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล และการนำเสนอผลงานวิจัย อย่างไรก็ตามกระบวนการออกแบบการทดลองถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะนำไปสู่การวางแผนการทดลอง และการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาการวิจัย การออกแบบการทดลองจะขึ้นอยู่กับจำนวนของปัจจัยที่จะทำการศึกษา ซึ่งมีทั้งการออกแบบการทดลองแบบปัจจัยเดียว และหลายปัจจัย ดังนั้นผู้วิจัยจำเป็นต้องเข้าใจแบบแผนของการทดลองก่อนที่จะลงมือทำการทดลองใดๆ            จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น ทางสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี โดยอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาวิทยานิพนธ์และรายวิชาดุษฎีนิพนธ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการออกแบบการทดลอง จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติในหัวข้อ “การออกแบบการทดลองแบบ Response Surface Methodology สำหรับการทดลองทางเทคโนโลยีชีวภาพ” ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ สลักคำ เป็นวิทยากรให้ความรู้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รวมทั้งผู้ช่วยวิจัย นักวิจัยหลังปริญญาเอก ปริญญาตรีและบุคลากรอื่นๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยจัดในรูปแบบ Onsite-classroom แบบจำกัดจำนวนคน […]

โครงการส่งตัวนักเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) เข้ารับการฝึกประสบการณ์วิจัยและการจัดทำบันทึกข้อตกลงทางวิชาการกับคณะผู้บริหาร-ครู โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย

            เมื่อวันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 13.00-15.00 น. นำโดย ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี ผศ.นุศรา สุระโคตร รองคณบดีฝ่ายวิชาการพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ หอมทอง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายดิจิทัลและประกันคุณภาพ ผศ.เกียรติศักดิ์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี อาจารย์ ดร. ธัญญา จันทร์ประสพชัย ประธานหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต และคณาจารย์คณะเทคโนโลยี เข้าร่วมกิจกรรมโครงการส่งตัวนักเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) เข้ารับการฝึกประสบการณ์วิจัยและการจัดทำบันทึกข้อตกลงทางวิชาการกับคณะผู้บริหาร-ครู โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย พร้อมกับนักเรียนที่ได้ผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการส่งตัวนักเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) เข้ารับการฝึกประสบการณ์วิจัย ในการนี้ นายวิรัช คุ้มโภคา หัวหน้าสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ตัวแทนคณะผู้บริหารโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย) นางสาวเฉลิมขวัญ ภูมี ผู้ประสานโครงการห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) พร้อมด้วยคณะครูโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยได้กล่าวแสดงความรู้สึกและขอขอบคุณ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น […]

รายการเปลี่ยนโฉมประเทศไทย แนะนำคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

          สถานีโทรทัศน์ NBT11 ทีวีอีสาน ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการจัดทำรายการเปลี่ยนโฉมประเทศไทย เพื่อนำเสนอผลงานด้านเศรษฐกิจ สังคม นวัตกรรม และเทคโนโลยี ที่มีส่่วนผลักดันการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า ในการนี้คณะเทคโนโลยีได้จัดทำเทปรายการเปลี่ยนโฉมประเทศไทย เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจคณะ ซึ่งประกอบด้วยโรงงานต้นแบบ Pilot Plant สำหรับการผลิตไบโอไฮเทน ภายใต้การดูแลของ ศ.ดร.อลิศรา เรืองแสง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์, การพัฒนาผงปรุงรสที่ใช้แทนผงชูรส จากงานวิจัยของ ดร.พิมพ์นิภา หิรัณย์สร อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร,ระบบควบคุมการทำงานของฟาร์มเห็ดอัจฉริยะ จากงานวิจัยของ ดร.ธัญญา จันทร์ประสพชัย ประธานหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต และผลงานวิจัยถอดบทเรียนอุทกภัยพายุโพดุล กรณีศึกษา อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ของอาจารย์ณัฐวุฒิ หอมทอง อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี พร้อมการสัมภาษณ์ ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี ถึงวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาคณะในอนาคต  สำหรับการดำเนินรายการมีพิธีกรรับเชิญเป็นนักศึกษาจากคณะเทคโนโลยี 4 คนที่ทำหน้าที่สัมภาษณ์ร่วมกับพิธีกรจากทาง NBT11 ซึ่งประกอบด้วย นายชูศักดิ์ รักดี สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, น.ส.ณัฐชญา สัตยากูล สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร, นายภาณุพงศ์ […]

สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ จัดโครงการ “กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังประสบการณ์จากวิทยากรด้านนิติพันธุศาสตร์” ในรูปแบบออนไลน์

                 เทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุล (Molecular Biotechnology) จัดเป็นหนึ่งในศาสตร์ทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรมชีวภาพ ด้านการแพทย์ หรือด้านนิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุลได้ถูกนำไปใช้ในงานด้านนิติพันธุศาสตร์ (Forensic Genetics) เพื่อบ่งบอกเอกลักษณ์หรือระบุตัวตนของบุคคล ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความแม่นยำสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนในรายวิชาเทคโนโลยีของยีนซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุลและการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านนิติพันธุศาสตร์          ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีของยีนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทีมผู้สอนจึงได้จัดโครงการ “กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังประสบการณ์จากวิทยากรด้านนิติพันธุศาสตร์” รูปแบบออนไลน์ผ่าน Zoom Meeting  ขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม 2565 เวลา 13:00-16:00 น. ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจากศิษย์เก่าสาขาวิชาฯ คุณประภัสสร อารีสิริสุข นักวิทยาศาสตร์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ) จากห้องปฏิบัติการมนุษย์พันธุศาสร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล […]

สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี จัดกิจกรรมค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022 ในรูปแบบออนไลน์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนทั่วทุกภูมิภาค

  สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี จัดกิจกรรมค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022 ในรูปแบบออนไลน์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนทั่วทุกภูมิภาค           ค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณีเป็นประธานกล่าวเปิดงานและต้อนรับนักเรียนค่ายที่ได้การคัดเลือกจากผู้สมัคร 200 คน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนทั่วทุกภูมิภาค ได้ผู้เข้าร่วม 30 คน จาก 29 โรงเรียน ด้วยการทดสอบวิชาการด้านธรณีวิทยาพื้นฐานและจิตวิทยาความสนใจในกิจกรรม         ค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022 จัดทำโดยนักศึกษาทีมงานปี 2-3 ในความดูแลของ อ.ดร.วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน ที่ร่วมวางแผน จัดเตรียมงาน และจัดงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยค่ายวิชาการนี้นับเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติของการศึกษาและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม […]

รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการฯ ได้รับเกียรติเชิญเป็นวิทยากร ในงาน ISAN Creative Festival  2022 เทศกาลอีสานสร้างสรรค์

  เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา  ผศ.ดร.อัมพร แซ่เอียว รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและนวัตกรรมเพื่อสังคม  ได้รับเชิญเป็นวิทยากร ในงาน ISAN Creative Festival  2022 เทศกาลอีสานสร้างสรรค์   ณ. ศูนย์ TCDC มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในช่วงการสนทนา จ๊วดทอล์ก โดยบรรยายในหัวข้อ ISAN PLANT BASED : อนาคตวัตถุดิบท้องถิ่นอีสาน   ซึ่งเนื้อหา ให้แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยการใช้พืชผักพื้นบ้านภาคอีสานที่มีศักยภาพ เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์จากพืช เป็นการส่งเสริมยกระดับ ผลิตภัณฑ์ให้อัตลักษณ์  พร้อมยกระดับสู่อุตสาหกรรมอาหารต่อไป  

คณะเทคโนโลยี ร่วมกับทีมบุคลากรโรงงานต้นแบบเกษตรและอาหาร มข. เข้าเยี่ยมชม กลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงจิ้งหรีด จ.ขอนแก่น 

  เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 นำโดย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี, ผศ.ดร.อัมพร แซ่เอียว รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและนวัตกรรมเพื่อสังคม และทีมบุคลากรจากคณะเทคโนโลยี ทีมบุคลากรโรงงานต้นแบบเกษตรและอาหาร  พร้อมด้วย รศ.รังสรรค์ เนียมสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์ฯ ผศ.ดร.เกษม นันทชัย ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์ฯ  นายเกรียงศักดิ์ ภูศรีโสม รอง ผอ. สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์ฯ และทีมนำผู้เชียวขาญ ลงพื้นที่เยี่ยมชม ชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีด พร้อมทั้งให้ความรู้และข้อเสนอแนะแนวทางการใช้เครื่องมือแปรรูปจิ้งหรีด โรงงานแปรรูปให้แก่กลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงจิ้งหรีด บ้านแสนตอ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น     

อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มข. ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบภาพเขียนสีโบราณ คาดอายุ 2,000-5,000 ปี

             5 มีนาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดเผยว่า อาจารย์และนักศึกษา คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ และ ดร.สุทธิพงษ์ ทวีลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบภาพเขียนสีโบราณ 2 จุด บริเวณเกิ้งตะขาบ และเกิ้งขาม ซึ่งปรากฏภาพเขียนสีรูปไม้กางเขน ตะขาบ วัวแดง ฝ่ามือ สัญลักษณ์คล้ายแผนที่ แจกัน รูปผู้ชายยื่นดอกไม้ให้ผู้หญิง จั่วบ้าน เป็นต้น โดยภาพที่พบ ไม่สามารถบอกได้ว่า ในยุคนั้น อยู่ในสังคมเกษตรกรรม หรือสังคมเริ่มแรกของการเร่ร่อน เพราะไม่มีภาพบ่งบอกชัดเจน ทั้งนี้มีทีมร่วมลงพื้นที่สำรวจประกอบด้วย นางพิมพ์กานต์ วงษ์ภูดร หัวหน้าวนอุทยานภูหัน-ภูระงำ นำนักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น และประชาชนที่สนใจ     […]

1 64 65 66 94