สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบการผลิตและการจัดการอุตสาหกรรม

Production System Technology and Industrial Management

สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบการผลิตและการจัดการอุตสาหกรรม

มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีความรู้พื้นฐานทางวิยาศาสตร์และการจัดการที่เกี่ยวข้องกับระบบการดำเนินงานของอุตสาหกรรมการผลิตอันประกอบด้วยกระบวนการผลิต การจัดการการตลาด ระบบประเมินคุณภาพและการออกแบบการควบคุม

ปรัชญา

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะในด้านกระบวนการผลิต การออกแบบ การวางแผนและควบคุม และเทคโนโลยีการจัดการ อุตสาหกรรมเพื่อรองรับความเจริญเติบโตและแก้ปัญหาภาคการผลิตของอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้รวมทั้งการฝึกปฏิบัติด้านการวิจัยและการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิต เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความพร้อมในการทำงาน การแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ในสาขาวิชา พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ของโลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้หลักสูตรนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อบูรณาการและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งสร้างโอกาสในการพัฒนาการวิจัยทั้งในด้านสาขาวิชาและด้านการศึกษา.

วัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

1. มีความรู้และความสามารถในการปฏิบัติงานด้านสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต
2. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์แยกแยะและริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีและหลักการ
ความรู้ในการแก้ปัญหาการทำงานจริงได้อย่างเหมาะสม
3. มีทักษะความสามารถด้านการวิเคราะห์วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้
4. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ รวมทั้งมีทัศนคติที่ดีต่อสังคม การทำงานและการใช้
ชีวิตในอนาคต
5. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การศึกษาเรียนรู้ และปฏิบัติงานได้
6. มีความเป็นผู้นำและผู้ร่วมงานที่ดี ใฝ่เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
133 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม-เอกชน การประกอบวิชาชีพอิสระ รวมถึงการมีธุรกิจส่วนตัวในสาขาวิชาที่เรียนมา โดยสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย ได้แก่
1. เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิต
2. เจ้าหน้าที่วางแผนการผลิต
3. เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพ
4. นักการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
5. เจ้าหน้าที่พัฒนาประสิทธิภาพระบบการผลิต
6. นักพัฒนาระบบอัตโนมัติและอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
7. เจ้าหน้าที่สนับสนุนด้านวิเคราะห์ข้อมูล
8. นักวิชาการหรือนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัย
9. ผู้บริหารกิจการอุตสาหกรรมทั้งในส่วนราชการและเอกชน

การผลิตในโรงงาน ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และอาจารย์ในสถาบันการศึกษา

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะในด้านกระบวนการผลิต การออกแบบ การวางแผนและควบคุม และเทคโนโลยีการจัดการ อุตสาหกรรมเพื่อรองรับความเจริญเติบโตและแก้ปัญหาภาคการผลิตของอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาคอาเซียน