สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร

FOOD TECHNOLOGY

สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร

มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปการจัดการ ระบบการผลิต และการประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหารและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ให้มีคุณค่าเป็นประโยชน์และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

ปรัชญาและความสำคัญ

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพทั้งทักษะด้านทฤษฎีและปฏิบัติให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บัณฑิต  และปลูกฝังด้านคุณธรรมและจริยธรรมแก่บัณฑิตในหลักสูตรความสำคัญของหลักสูตร คือ อุตสาหกรรมอาหารมีความสำคัญในการรองรับผลผลิตทางการเกษตรและเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ เป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศ และกระจายรายได้สู่ภาคเกษตรกรและภาคแรงงาน ทั้งนี้การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารให้มีคุณภาพ มีความหลากหลาย ยืดอายุการเก็บรักษา และสามารถต้องตอบสนองความต้องการผู้บริโภคภายในและภายนอกประเทศ จึงเป็นหน้าที่ของนักเทคโนโลยีการอาหาร  โครงสร้างหลักสูตรนี้จึงได้คำนึงถึงเนื้อหาความรู้ที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด  โดยการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานในสาขาต่างๆและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน  มีความรู้ด้านการแปรรูปอาหาร การจัดการและการติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อการแปรรูปวัตถุดิบการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร  การบรรจุหีบห่อ  การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค  

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้


1. มีความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์อย่างเหมาะสม เพื่อปฏิบัติงานในสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหารได้อย่างถูกต้อง และเพื่อการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปได้
2. มีมนุษยสัมพันธ์ มีความเป็นผู้นำและผู้ร่วมงานที่ดี มีทักษะในด้านการทํางานเป็นหมู่คณะ สามารถบริหารจัดการ
การทํางานได้อย่างเหมาะสม และเป็นผู้มีทัศนคติที่ดีในการทํางาน
3.มีทักษะความสามารถด้านการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาในการทำงานการอาชีพอย่างเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม  การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  และการจัดการสมัยใหม่
4.มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต ประกอบอาชีพด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

หลักสูตรและโครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตร จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม-เอกชน การประกอบวิชาชีพอิสระ รวมถึงการมีธุรกิจส่วนตัวในสาขาวิชาที่เรียนมา โดยสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยในสถาบันวิจัย (ศูนย์พันธุวิศวกรรมฯ หรือ กระทรวง กรมต่างๆ หรือเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน นักศึกษาสามารถเข้าทำงานได้หลายฝ่าย เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิตวิจัยและพัฒนา หรือควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม

ลักษณะงานหลังสำเร็จการศึกษา

หน่วยงานของรัฐและวิสาหกิจ
ตำแหน่งอาจารย์  นักวิจัย นักวิชาการ หรือ นักวิทยาศาสตร์ในหน่วยงาน ต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันราชภัฎ สำนักงานอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมปศุสัตว์ กรมประมง เป็นต้น
หน่วยงานเอกชน
ในโรงงานอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารประเภทต่าง ๆ รวมทั้งบริษัท ตรวจสอบคุณภาพกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทจำหน่าย ส่วนผสมสารเคมี ภาชนะบรรจุ อุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อการผลิต หรือตรวจวิเคราะห์อาหาร โดยทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมกระบวนการผลิต ควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายและบริการด้านเทคนิค ที่ปรึกษาเกี่ยวกับระบบในอุตสาหกรรมอาหาร

ช่องทางติดต่อเพิ่มเติม >>

สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร

สารบรรณสาขาวิชา ตึกTE06 ชั้น 3

โทรศัพท์: 061 924 0404
แฟกซ์:

FB : สาขาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Tik Tok : FOOD TECH KKU

การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารให้มีคุณภาพ มีความหลากหลาย ยืดอายุการเก็บรักษา และสามารถต้องตอบสนองความต้องการผู้บริโภคภายในและภายนอกประเทศ จึงเป็นหน้าที่ของนักเทคโนโลยีการอาหาร  โครงสร้างหลักสูตรนี้จึงได้คำนึงถึงเนื้อหาความรู้ที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด