สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี

GEOTECHNOLOGY

สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี

มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีธรณี ได้แก่ การสำรวจ ค้นหาวิเคราะห์ทำความเข้าใจและสร้างแบบจำลอง พร้อมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน หิน แร่ น้ำใต้ดิน และสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะนำเอาทรัพยากรเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ปรัชญาและความสำคัญ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีธรณี ที่เน้นหนักทางวิศวกรรมธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา  ธรณีฟิสิกส์ ธรณีเคมี ธรณีพิบัติภัย และธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ พร้อมสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาการ/วิชาชีพเทคโนโลยีธรณี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ เข้าใจในสถานการณ์ของโลกและสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและตลาดงานปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555)
มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

1.มีความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณีในการแก้ปัญหาการทำงานได้
3.มีทักษะความสามารถด้านการสื่อสาร การวิเคระห์วิจัย การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่
4.มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ และมีทักษะความพร้อมด้านสังคม ที่จำเป็นต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 140หน่วยกิต

ลักษณะงานหลังสำเร็จการศึกษา

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม-เอกชน การประกอบวิชาชีพอิสระ รวมถึงการมีธุรกิจส่วนตัวในสาขาวิชาที่เรียนมา โดยสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย เช่น การสำรวจเพื่อออกแบบในด้านวิศวกรรมธรณีวิทยา ธรณีวิทยาแหล่งแร่ การสำรวจเพื่อหาแหล่งน้ำบาดาลสำหรับการอุปโภคและบริโภค การผลิตแร่และหินเพื่ออุตสาหกรรม แร่เชื้อเพลิงและพลังงาน รวมถึงการทำงานด้านธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย ตลอดจนการบริหารเพื่อพัฒนาการเพิ่มศักยภาพการสำรวจหาแหล่งทรัพยากรธรณีใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ

หน่วยงานของรัฐ
กรมทรัพยากรธรณี การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมพัฒนาที่ดิน เป็นต้น
หน่วยงานเอกชน
หน่วยงานที่ดำเนินงานทางด้านการสำรวจแหล่งแร่และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ และหน่วยงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

 

เน้นหนักทางวิศวกรรมธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา  ธรณีฟิสิกส์ ธรณีเคมี ธรณีพิบัติภัย และธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ
พร้อมสำหรับการทำงาน