วิสัยทัศน์
“องค์กรชั้นนำในการผลิตนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากผลงานวิจัยสู่สังคม”
เป้าหมาย
เป้าหมายหลักที่สำคัญของคณะเทคโนโลยี ประกอบด้วย
- จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการนำไปใช้ประโยชน์จริงในภาคอุตสาหกรรม ชุมชน หรือสังคม ใน 5 ปี (ค.ศ. 2030) เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 5 ผลงานต่อปี
- มีผลงานวิจัยอย่างน้อย 2 ผลงานต่อปี ที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกที่วัดผลได้ต่อเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- มีนวัตกรรมจากผลงานวิจัยสู่ระดับสากล เป็นอันดับ 1 ใน 50 ของเอเชีย ในปีค.ศ. 2035
พันธกิจ
พันธกิจหลักที่สำคัญของคณะเทคโนโลยี ประกอบด้วย 4 พันธกิจหลักคือ
- ผลิตและพัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นสากล: สร้างนักเทคโนโลยีที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล พร้อมทั้งสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรและอุตสาหกรรมเกษตรอย่างยั่งยืน
- วิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ: ผลิตงานวิจัยบูรณาการที่มีคุณภาพสูงในระดับสากล เพื่อต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
- บริการวิชาการและส่งเสริมการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์: ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและภาคอุตสาหกรรม และผลักดันนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
- ยกระดับการจัดการทรัพยากรและอุตสาหกรรมเกษตรพื้นถิ่นด้วยสหวิทยาการในบริบทนานาชาติ: พัฒนาและยกระดับการจัดการทรัพยากรและอุตสาหกรรมเกษตรในท้องถิ่นให้ก้าวหน้าและยั่งยืน
ทิศทางกลยุทธ์
คณะเทคโนโลยีมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีของภูมิภาค ผ่านกลยุทธ์การเชื่อมโยงการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการอย่างไร้รอยต่อ ภายในปี 2570 คณะฯ จะเพิ่มจำนวนผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์จริงให้เป็นอย่างน้อย 5 ผลงานต่อปีและสร้างผลกระทบที่วัดได้ต่อเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาค
ค่านิยมองค์กร
ค่านิยมองค์กร: SMART
S – Social Devotion for Societal Impact: อุทิศเพื่อสังคมชุมชน สร้างสรรค์ผลกระทบ
M – Management by Fact for Innovation Advancement: บริหารด้วยข้อมูลจริง สร้างสรรค์นวัตกรรมก้าวหน้า
A – Achievement by Teamwork & Agility for Societal Benefit: สำเร็จด้วยทีม ปรับตัวไว เพื่อประโยชน์สังคม
R – Responsibility for Customer & Research Application: รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มุ่งใช้ประโยชน์งานวิจัย
T – Technology and Innovation for Societal Transformation: เทคโนโลยีและนวัตกรรม นำสังคมสู่การเปลี่ยนแปลง
จรรยาบรรณ
“ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเท่าเทียม ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก”