สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

BIOTECHNOLOGY

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

เป็นสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์  ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเซลล์จุลินทรีย์ พืช และสัตว์ โดยอาศัยความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์ มาใช้พัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หรือปรับปรุงกระบวนการแปรรูปวัสดุชีวภาพเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า เอื้อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ  เทคโนโลยีชีวภาพเป็นศาสตร์ที่มีขอบเขต

ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)
มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ พร้อมสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาการ/วิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ เข้าใจในสถานการณ์ของโลกและสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและตลาดงานปัจจุบัน

วัตถุประสงค์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)
มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

1.มีความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชา เทคโนโลยีชีวภาพในการแก้ปัญหาการทำงานได้
3.มีทักษะความสามารถด้านการสื่อสาร การวิเคราะห์วิจัย การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่
4.มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และมีทักษะความพร้อมด้านสังคม ที่จำเป็นต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต
5.มีความสามารถทำงานรับใช้ตรงตามความต้องการของท้องถิ่นและสังคมด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ
6.มีโลกทรรศน์กว้างไกล มีความรู้ความสามารถพอเพียงที่จะศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศ


หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ประกอบด้วย 2 แผน คือ

แผนฝึกงานและทำโครงการทางเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นแผนการศึกษาที่มีการเรียนรายวิชาต่าง ๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต
แผนสหกิจศึกษา เป็นแผนการศึกษาที่มีการเรียนรายวิชาต่าง ๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต และสหกิจศึกษา ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานในสถานประกอบการเต็มเวลาเป็นเวลา 1 ภาค การศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม-เอกชน การประกอบวิชาชีพอิสระ รวมถึงการมีธุรกิจส่วนตัวในสาขาวิชาที่เรียนมา โดยสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยในสถาบันวิจัย (ศูนย์พันธุวิศวกรรมฯ หรือ กระทรวง กรมต่างๆ หรือเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน นักศึกษาสามารถเข้าทำงานได้หลายฝ่าย เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิตวิจัยและพัฒนา หรือควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ หรือบริษัทตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ

ลักษณะงานหลังสำเร็จการศึกษา

หน่วยงานของรัฐ
สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนากระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นต้น
หน่วยงานเอกชน
โรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เช่น โรงงานผลิตกรดอินทรีย์ เอทานอล น้ำตาล เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มอาหารสัตว์ ยาและเวชภัณฑ์ และสารสกัดจากพืช เป็นต้น





มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ พร้อมสำหรับการทำงาน