สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ จัดโครงการ “กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังประสบการณ์จากวิทยากรด้านนิติพันธุศาสตร์” ในรูปแบบออนไลน์

                 เทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุล (Molecular Biotechnology) จัดเป็นหนึ่งในศาสตร์ทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรมชีวภาพ ด้านการแพทย์ หรือด้านนิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุลได้ถูกนำไปใช้ในงานด้านนิติพันธุศาสตร์ (Forensic Genetics) เพื่อบ่งบอกเอกลักษณ์หรือระบุตัวตนของบุคคล ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความแม่นยำสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนในรายวิชาเทคโนโลยีของยีนซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุลและการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านนิติพันธุศาสตร์          ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีของยีนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทีมผู้สอนจึงได้จัดโครงการ “กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังประสบการณ์จากวิทยากรด้านนิติพันธุศาสตร์” รูปแบบออนไลน์ผ่าน Zoom Meeting  ขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม 2565 เวลา 13:00-16:00 น. ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจากศิษย์เก่าสาขาวิชาฯ คุณประภัสสร อารีสิริสุข นักวิทยาศาสตร์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ) จากห้องปฏิบัติการมนุษย์พันธุศาสร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล […]

สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี จัดกิจกรรมค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022 ในรูปแบบออนไลน์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนทั่วทุกภูมิภาค

  สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี จัดกิจกรรมค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022 ในรูปแบบออนไลน์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนทั่วทุกภูมิภาค           ค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณีเป็นประธานกล่าวเปิดงานและต้อนรับนักเรียนค่ายที่ได้การคัดเลือกจากผู้สมัคร 200 คน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนทั่วทุกภูมิภาค ได้ผู้เข้าร่วม 30 คน จาก 29 โรงเรียน ด้วยการทดสอบวิชาการด้านธรณีวิทยาพื้นฐานและจิตวิทยาความสนใจในกิจกรรม         ค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022 จัดทำโดยนักศึกษาทีมงานปี 2-3 ในความดูแลของ อ.ดร.วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน ที่ร่วมวางแผน จัดเตรียมงาน และจัดงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยค่ายวิชาการนี้นับเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติของการศึกษาและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม […]

อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มข. ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบภาพเขียนสีโบราณ คาดอายุ 2,000-5,000 ปี

             5 มีนาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดเผยว่า อาจารย์และนักศึกษา คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ และ ดร.สุทธิพงษ์ ทวีลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบภาพเขียนสีโบราณ 2 จุด บริเวณเกิ้งตะขาบ และเกิ้งขาม ซึ่งปรากฏภาพเขียนสีรูปไม้กางเขน ตะขาบ วัวแดง ฝ่ามือ สัญลักษณ์คล้ายแผนที่ แจกัน รูปผู้ชายยื่นดอกไม้ให้ผู้หญิง จั่วบ้าน เป็นต้น โดยภาพที่พบ ไม่สามารถบอกได้ว่า ในยุคนั้น อยู่ในสังคมเกษตรกรรม หรือสังคมเริ่มแรกของการเร่ร่อน เพราะไม่มีภาพบ่งบอกชัดเจน ทั้งนี้มีทีมร่วมลงพื้นที่สำรวจประกอบด้วย นางพิมพ์กานต์ วงษ์ภูดร หัวหน้าวนอุทยานภูหัน-ภูระงำ นำนักโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น และประชาชนที่สนใจ     […]

สาขาเทคโนโลยีธรณี จัดคัดเลือกนักเรียนทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเข้าโอลิมปิกวิชาการ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ศูนย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2564

    เมื่อวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2565 สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณีในนามศูนย์โอลิมปิกวิชาการ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียนทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าค่ายที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 ร่วมกับ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) โดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประกอบด้วย 4 สนามสอบใน 4 จังหวัด ได้แก่ ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยผศ.เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ ประธานศูนย์สอบ ร่วมกับกรรมการคุมสอบ ผศ.นุศรา สุระโคตร,  อ.ดร.สุทธิพงษ์ ทวีลาภ, นายสมพล จรรยากรณ์, นายสุวีระ ขยันเยี่ยม และนางฐิติรัตน์ อินสาลี ศูนย์สอบโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา โดยมี อ.ดร.วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน เป็นผู้แทนฯ ศูนย์สอบโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี อ.ดร.พจน์ปรีชา พรไทย เป็นผู้แทนฯ […]

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี ถ่ายทำวีดีทัศน์การศึกษาภาคสนาม สำหรับเผยแพร่ในค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022

                 เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำทีมคณะจัดทำค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022 ภายใต้การดูแล อาจารย์ ดร. วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน และอาจารย์ ดร. วิมล สุขพลำ ถ่ายทำวีดีทัศน์การศึกษาภาคสนามของนักธรณีวิทยา บริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง ส่วนหนึ่งของอุทยานธรณีขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น บริเวณผาชมตะวัน น้ำตกตาดฟ้า รอยตีนไดโนเสาร์ ลานยูเรเนียม ผากาลเวลา สุสานหอยล้านปี และหลุมขุดค้นไดโนเสาร์จำนวน 3 หลุม        วีดีทัศน์นี้ถ่ายทำขึ้นสำหรับเผยแพร่ในค่ายวิชาการดังกล่าวแบบออนไลน์ ที่จะจัดในวันที่ 19-20 มีนาคม 2565 แบบทัศนศึกษาเสมือนจริง (virtual field trip) […]

คณะเทคโนโลยี  จัดโครงการ “กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังประสบการณ์จากวิทยากรภายนอกจากสถานประกอบการด้านอาหารและอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง”

    เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยี  จัดกิจกรรมโครงการ “กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังประสบการณ์จากวิทยากรภายนอกจากสถานประกอบการด้านอาหารและอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง”  ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณชาญชัย วงค์วันดี ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท ซีพีเอฟ ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ จำกัด คุณปนิธา ใจสะอาด ผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด และคุณพรนัชชา กลางพิมาย ผู้จัดการแผนกตรวจสารพันธุกรรม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ศิษย์เก่าจากสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดประสบการณ์ทำงาน ให้หลักการทำงานและคำแนะต่างๆ อันเป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมสู่การปฏิบัติงานจริงในอนาคต แก่นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ผ่านระบบออนไลน์  Zoom  Meeting ในกิจกรรมดังกล่าว โดยมี อ.ศิริพร ลุนพรม เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ      

คณะเทคโนโลยี จัดอบรมในรูปแบบออนไลน์ หัวข้อเรื่อง “Canva Tips for Presentation” ให้กับอาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก

    วันพฤหัสบดี ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ทางขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พลฤทธิ์ จุลมนต์ อาจารย์ประจำหลักสูตรหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต มาบรรยายพิเศษในรูปแบบออนไลน์ ในหัวข้อ “Canva Tips for Presentation” ให้กับอาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาสัมมนาทางเทคโนโลยีชีวภาพและสัมมนาดุษฎีนิพนธ์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ สลักคำ และ อาจารย์ ดร.ศิริพร ลุนพรม เป็นอาจารย์ประสานงานรายวิชา ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาตลอดจนบุคลากรที่สนใจได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ สำหรับการจัดทำสื่อการนำเสนองานอย่างมืออาชีพและสามารถนำปรับใช้และพัฒนาผลงานของตนเองต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ได้อีกด้วย           

อาจารย์ตัวแทนนักวิจัยและนักศึกษาจากห้องปฏิบัติการกลุ่มวิจัยฯ อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง มาตรฐานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการและการสำรวจสถานภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการโดยใช้ ESPReL Checklist ผ่านระบบออนไลน์

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ผู้แทนจากห้องปฏิบัติการกลุ่มวิจัยเพื่อการพัฒนากระบวนการผลิตไฮโดรเจนจากวัตถุดิบมวลชีวภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (หัวหน้าห้องปฏิบัติการ: ศาสตราจารย์ ดร.อลิศรา เรืองแสง) นำโดย ดร.ศิริพร ลุนพรม อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี และตัวแทนนักวิจัยและนักศึกษาจากห้องปฏิบัติการกลุ่มวิจัยฯ ได้แก่ นายวรพงศ์ วงค์อามาตย์ นายสุริยันต์ บุญพิโย นายอัยพฤกษ์ ม่วงประยูร นางสาวกมลวรรณ เทพสุธรรมรัตน์ นางสาวณปภัช สิทธิกิจปัญญา และนางสาวนพรัตน์ ต้อยน้อย ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “ตัวอย่างการดำเนินงานยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ” ในงานอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง มาตรฐานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการและการสำรวจสถานภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการโดยใช้ ESPReL Checklist ผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคม 2564 จัดโดยศูนย์วิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 

นักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ IGCP-700: PALAEOZOIC CARBONATE BUILD-UPS IN SOUTH EAST ASIA ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดเลย

นักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ IGCP-700: PALAEOZOIC CARBONATE BUILD-UPS IN SOUTH EAST ASIA ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดเลย           ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดย รศ.ดร.มงคล อุดชาชน, Prof. Clive Burette และ รศ.ดร.หทัยทิพย์ อุดชาชน พร้อมด้วยหน่วยงานเครือข่ายภายในประเทศและต่างประเทศ จัดกิจกรรมโครงการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ IGCP-700: Palaeozoic Carbonate build-ups in South East Asia (ต่อเนื่อง 5 ปี ระหว่าง ค.ศ. 2021 – 2025) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม และสังเคราะห์ข้อมูลพืดหินปูนมหายุคพาลีโอโซอิกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัย และการวางแผนการใช้ประโยชน์แหล่งหินปูนด้านอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวเชิงอุทยานธรณีของเทือกเขาหินปูนอย่างยั่งยืนในอนาคต พร้อมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ และการศึกษาของเครือข่ายนานาชาติ สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ความสำคัญถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กร การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาและเทคโนโลยีธรณีที่เป็นปัจจุบัน รวมถึงการพัฒนาด้านการวิจัยโดยนักศึกษาและคณาจารย์ได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงร่วมกัน จึงสนับสนุนโครงการการเข้าร่วมประชุมฯ นำโดยอาจารย์ ดร. ณัฐวิโรจน์ ศิลารัตน์, อาจารย์ ดร.พิทักษ์สิทธิ์ ดิษบรรจง และนักศึกษาเทคโนโลยีธรณีชั้นปีที่ 4 จำนวน 4 ท่าน เข้าร่วมการประชุมฯ IGCP-700 ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 13 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ จังหวัดเลย […]

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้ารับการฝึกปฏิบัติงานกับหน่วยงานราชการ ระหว่างการปิดภาคการศึกษาที่ 1/2564

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้ารับการฝึกปฏิบัติงานกับหน่วยงานราชการ ระหว่างการปิดภาคการศึกษาที่ 1/2564 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ในภาคการศึกษาที่ 1/2564 ทำให้การเรียนการสอนส่วนใหญ่ เป็นไปในรูปแบบออนไลน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา การสนับสนุนให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานจริง เพิ่มพูลทักษะก่อนสำเร็จศึกษาเพื่อเตรีมความพร้อมสู่การทำงานจริง การมีส่วนร่วมกับหน่วยงานราชการที่มีองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาทางธรณีวิทยาภาคสนาม การสำรวจแร่, การสำรวจถ้ำ, การศึกษาธรณีพิบัติภัย เช่น หลุมยุบ ดินถล่ม, การจัดทำแผนที่ธรณีวิทยา และแผนที่เสี่ยงภัย, การสำรวจ อนุรักษ์ และศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ เป็นต้น จึงได้ประสานงานกับกรมทรัพยากรธรณี เขต 2 จังหวัดขอนแก่น ขอความอนุเคราะห์ให้รับนักศึกษาเข้าฝึกงานระหว่างช่วงปิดภาคการศึกษา ด้วยความอนุเคราะห์ของกรมทรัพยากรธรณี เขต 2 จังหวัดขอนแก่น นำโดย ดร.ดรุณี สายสุทธิชัย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 ได้ตอบรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวนทั้งสิ้น 9 ท่าน […]

1 8 9 10 16