คณะเทคโนโลยี มข. ได้เข้าร่วมโครงการวิจัย “การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำปลาร้า ด้วยเทคโนโลยีสร้างมูลค่ากากปลาร้า (ระยะที่ 2)” ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2567 คณะเทคโนโลยี มข. นำโดย ผศ.ดร.อัมพร แซเอียว รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและนวัตกรรมเพื่อสังคม พร้อมด้วย ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำทีมเจ้าหน้าที่เข้าตรวจเยี่ยมโครงการวิจัย “การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำปลาร้า ด้วยเทคโนโลยีสร้างมูลค่ากากปลาร้า (ระยะที่ 2)” โดยโครงการนี้ได้มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากกากปลาร้าซึ่งเป็นเศษเหลือในกระบวนการผลิตน้ำปลาร้าปรุงรสบรรจุขวด โดยปัจจุบันไทยมีปริมาณกากปลาร้าเหลือทิ้งอย่างน้อย 680 ตัน/ปี ซึ่งถูกกำจัดโดยการต้องฝังกลบ จึงอาจส่งผลให้กากปลาร้าที่มีความเค็มและมีกลิ่นรุนแรงนี้ รั่วไหลสู่ดินและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดปัญหาหาสิ่งแวดล้อมตามมาได้ ดังนั้นทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้มีการวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียในกระบวนการผลิต โดยสร้างเป็นไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการเพิ่มแคลเซียมจากผงกระดูกปลาที่ได้จากการนำกากปลาร้ามาปรับปรุงคุณภาพด้วยเทคโนโลยีที่นักวิจัยคิดค้น พร้อมทั้งได้มีการต่อยอดไปสู่การจัดทำข้อกำหนดด้านมาตรฐาน เพื่อให้น้ำปลามีแคลเซียมเพิ่มขึ้น มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าน้ำปลาร้าทั่วไปในท้องตลาด ทำให้ผู้ประกอบการสามารถกล่าวอ้างคุณสมบัติน้ำปลาร้าเสริมผงกระดูกปลาเป็นผลิตภัณฑ์ แคลเซียมสูงได้ รวมถึงมีการวิจัยเพิ่มเพื่อป้องกันไม่ให้ผงกระดูกปลาตกตะกอนที่ก้นขวด ซึ่งทำให้ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์ได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งดำเนินการวิจัยโดย ผศ.ดร. สมสมร แก้วบริสุทธิ์ อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ […]