อาคันตุกะจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมชมโรงงานต้นแบบไบโอไฮเทน (Biohythane Pilot Plant KKU) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

_

 

_เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ให้การต้อนรับ Mr. Shotaro SANO ตำแหน่ง Commercial Attaché (Commerce, Industry and Energy) ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย พร้อมคณะผู้ติดตาม ในโอกาสการมาเยือนมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือทางวิชาการในด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การลดการใช้คาร์บอน และการใช้พลังงานเป็นศูนย์ และหารือแนวทางในการจัดทำ MOU ร่วมกัน

_____ในวันเดียวกัน คณะผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ยังได้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่โรงงานต้นแบบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่พลังงานยุคใหม่ โรงงานต้นแบบไบโอไฮเทน และโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีตัวแทนจากคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศรี ปลั่งกลาง และคณะนักวิจัยหลังปริญญาเอก (Post-doc) ให้การต้อนรับ Mr. Shotaro SANO พร้อมคณะผู้ติดตาม และให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานต้นแบบไบโอไฮเทน (Biohythane Pilot Plant KKU) ซึ่งอยู่ในความดูแลของ ศาสตราจารย์ ดร.อลิศรา เรืองแสง อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศรี ปลั่งกลาง ตัวแทนจากคณะเทคโนโลยี เป็นผู้ให้การต้อนรับ และให้ข้อมูลแก่คณะผู้แทนฯ จาก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย

_____โรงงานต้นแบบไบโอไฮเทน (Biohythane Pilot Plant KKU) เป็นหนึ่งในโรงงานต้นแบบที่ให้ความสำคัญในการใช้พลังงานทดแทนจากแก๊สไฮโดรเจนและมีเทน และการใช้พลังงานเป็นศูนย์ จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้รับเกียรติจากคณะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมชมและให้ความสนใจ