6 เหรียญทองแดง จากผู้แทนศูนย์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากการแข่งขันระดับชาติวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2565 ณ ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

6 เหรียญทองแดง จากผู้แทนศูนย์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากการแข่งขันระดับชาติวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ครั้งที่ 2

ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2565 ณ ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ เป็นสหวิชาที่ว่าด้วยธรรมชาติของโลกทั้งระบบ ตั้งแต่การกำเนิด ขนาด องค์ประกอบ วิวัฒนาการ ร่วมถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลกกับดาวดวงอื่นๆ โดยเฉพาะดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ โลกกับชั้นบรรยากาศ โลกกับชั้นน้ำ โลกกับการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวโลก โลกกับภาวะเรือนกระจก เป็นต้น วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ จึงถือเป็นสหวิชา ที่ต้องมีการบูรณาการ ผสมผสานความรู้หลายสาขาวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมีและชีววิทยา และวิชาเฉพาะอื่นๆที่เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือ วิชาธรณีวิทยา วิชาปฐพีวิทยา วิชาสมุทรศาสตร์ วิชาอุทกศาสตร์และบรรยากาศ และวิชาดาราศาสตร์

 

การแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระดับชาติ (Thailand Earth Science Olympiad) เป็นการแข่งขันเพื่อคัดเลือกนักเรียนที่ผ่านการเข้าอบรมจากศูนย์ฯ สอวน.ในสาขาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศทั้งหมด 7 ศูนย์ทั่วประเทศ เป็นผู้แทนประเทศไทยเดินทางไปร่วมการแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Earth Science Olympiad) ประกอบด้วย

  1. ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. สาขาวิชาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
  3. ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  4. ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  5. สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  6. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  7. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

 

การแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระดับชาติในปีนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยมีตัวแทนศูนย์วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกจากทั่วประเทศ อาจารย์ควบคุมทีม ครูสังเกตการณ์ และอาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติ รวม 144 คน เข้าร่วมการแข่งขัน ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2565 ณ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ศูนย์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำทีมโดยอาจารย์จากสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน เป็นหัวหน้าทีม และ ดร.สุทธิพงษ์ ทวีลาภ รองหัวหน้าทีม เข้าร่วมแข่งขันทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยนักเรียนผู้แทนศูนย์ฯ ทุกคนได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ประกอบด้วย

  1. นายกฤตภาส หินเธาว์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)
  2. นางสาวอาทิตยา มูลดี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)
  3. นางสาวมุจลินท์ โรจน์วัฒนบูลย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง)
  4. นายนิโรจน์ ดวงเเก้ว โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม
  5. นางสาวอิงลดา ทองหาว โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย
  6. นายพงศพัฒน์ สุพร โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย

 

โครงการโอลิมปิกวิชาการ สอวน. วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งสามารถเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ในมิติต่างๆ โดยเฉพาะระบบโลกและการร่วมมือระดับสากล ได้แก่

เป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เป้าหมายที่ 6: สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 13: เร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

เป้าหมายที่ 15: ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

 

ข่าว/ภาพ  :  อ.ดร.วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน