ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะผู้บริหาร ร่วมแสดงความยินดีและชื่นชมกับผู้แทนทีมนักศึกษา คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เข้าร่วมและได้รับรางวัลในงาน APEC Regional Youth Symposium ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2565 เป็นทีมชนะเลิศจากภาคอีสานตอนบน ร่วมแข่งขันระดับประเทศเพื่อเข้าร่วมงานประชุม APEC
คณะเทคโนโลยีได้ส่งทีมนักศึกษาผู้แทนคณะเข้าร่วม กิจกรรม Hackathon เสนอไอเดียพัฒนาพื้นที่ด้วย BCG Model ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้งาน APEC Regional Youth Symposium ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่ได้ระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาภูมิภาคจากแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG นำไปสู่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ในวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2565 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดยทีม Biohythane KKU จากคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้ร่วมทีมประกอบด้วย
- นางสาวณปภัช สิทธิกิจปัญญา
- นางสาวธันยาภรณ์ ศิริวงษ์
- นางสาวศรีสุดา ไชยกิจแก้ว
- นายอัยพฤกษ์ ม่วงประยูร
- นางสาวณัธีรา คลังกลาง
อาจารย์ที่ปรึกษาทีม: ศ.ดร.อลิศรา เรืองแสง
ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 (concept โครงการ “Green ดีกว่า”) ภายใช้ชื่อโครงการ “อ้อย…อ๊ออออยย” ที่มีแนวคิดการแปลงวัสดุเหลือทิ้งจากการปลูกอ้อยจำพวกใบอ้อย ที่ก่อให้เกิดมลพิษในกระบวนการกำจัด มาใช้เป็นสับสเตรทเพื่อการผลิตพลังงานทดแทน “Biohythane” ซึ่งสามารถนำไปเผาไหม้เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งแก๊สมีเทนน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตยังสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ย เกิดกระบวนการที่มีของเหลือทิ้งเป็นศูนย์ (Zero Waste) ตอบโจทย์การแก้ปัญหาและพัฒนาภูมิภาคด้วย BCG อย่างแท้จริง ซึ่งทีม Biohythane KKU ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมทั้งเป็นผู้แทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนร่วมแข่งขันระดับประเทศเพื่อเข้าร่วมงานประชุม APEC ต่อไป
และขอแสดงความชื่นชมกับนักศึกษาผู้แทนคณะเทคโนโลยีอีกหนึ่งทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน คือทีม The TEam (concept โครงการ “Soft Power) โดยทีมนักศึกษาประกอบด้วย
- นายชยาวุธ สีดาคำ
- นางสาวกมัยธร ด้วงเคน
- นางสาวศรุตา สุระโคตร
- นายศุภกฤต ศีรษะพล
โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาทีม คือ ผศ.ดร.อัมพร แซ่เอียว และ อ.ณัฐวุฒิ หอมทอง
ภายใต้ชื่อโครงการ แอปพลิเคชันเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ที่นำเอาจุดแข็งด้านการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อในภาคอีสาน มีร้อยเรียงผ่านเส้นทางท่องเที่ยงเชิงธรณีวิทยาและ Gastronomy เพื่อก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจฐานรากของท้องถิ่น
ทางคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับทีมที่เข้าร่วมกิจกรรม และเป็นกำลังใจให้แก่ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เป็นตัวแทนภาคอีสานตอนบน เข้าแข่งขันในระดับประเทศต่อไป