คณะเทคโนโลยี มข. ร่วมขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการไทย-ญี่ปุ่น-อาเซียน ผ่านการประชุม Young Talents Exchange and Capacity Development Program (Y-TEC2024)

          เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2568 ที่ผ่านา คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยศาสตราจารย์ ดร.อลิศรา เรืองแสง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยนักศึกษาผู้นำเสนอ ได้เข้าร่วมงานประชุม Young Talents Exchange and Capacity Development Program (Y-TEC2024)

          การประชุมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ NEXUS (Networked Exchange, United Strength for Stronger Partnerships between Japan and ASEAN) ซึ่งริเริ่มขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศสมาชิก

          โครงการ Y-TEC2024: พัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ – Y-TEC2024 เป็นหนึ่งในโปรแกรมแลกเปลี่ยนและพัฒนาศักยภาพเยาวชนภายใต้โครงการ NEXUS โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ในระดับนานาชาติ ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายทรัพยากรบุคคลด้านการวิจัยที่เข้มแข็งระหว่างประเทศ โดยในโอกาสนี้ มีนักวิจัยและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมในฐานะผู้นำเสนองานวิจัย ได้แก่ ดร.อุมารินทร์ จอมโนนเขวา นักวิจัยหลังปริญญาเอก คณะเทคโนโลยี และ นางสาวณปภัช สิทธิกิจปัญญา นักวิจัยหลังปริญญาเอก คณะเทคโนโลยี พร้อมด้วย เด็กหญิงพราว เรืองแสง จากโรงเรียนสาธิตศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถือเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิจัยและนักวิชาการทั้งในระดับอุดมศึกษาและมัธยมศึกษาจากประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่นได้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในการพัฒนางานวิจัยร่วมกัน

ดร.อุมารินทร์ จอมโนนเขวา นักวิจัยหลังปริญญาเอก คณะเทคโนโลยี มข.

หัวข้อวิจัย: Microwave Pretreatment of Napier Grass to Enhance Thermophilic Hydrogen Production and Organic Solubilization
นางสาวณปภัช สิทธิกิจปัญญา

นักวิจัยหลังปริญญาเอก คณะเทคโนโลยี มข.

เด็กหญิงพราว เรืองแสง

นักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตศึกษาศาสตร์

หัวข้อวิจัย: Optimizing Sugarcane Leaf Waste for Sustainable Methane Production: The Effects of Microbial Pre-Hydrolysis and Hydraulic Retention Time หัวข้อวิจัย: Eco-Friendly Dye Removal from Textile Wastewater Using a Biocomposite Membrane Derived from Agricultural Waste