เมื่อวันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ.2567 เวลา 14.00 น. ในการนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานในงาน พร้อมด้วย ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มข. ผศ.นุศรา สุระโคตร รองคณบดีฝ่ายการศึกษา พัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ศ.ดร.อลิศรา เรืองแสง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รศ.ดร.จันทิมา ภูงามเงิน ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพ ผศ.เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี ผศ.ดร.พิมพ์นิภา หิรัณย์สร หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร พร้อมด้วยคณาจารย์คณะเทคโนโลยี มข. ได้ให้การต้อนรับผู้บริหารจาก โครงการ Subsurface Data for U โดย คณะผู้บริหารจากบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โดย คุณรังสรรค์ เพ็งพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานธรณีศาสตร์และการสำรวจ คุณธนบดี ด้วงประเสริฐ Digital Service Delivery Manager Thailand and Myanmar ตัวแทนจาก บริษัท ชลัมเบอร์เจร์ จำกัด คุณฐิตพล บุญประสิทธิ์ Country Managing Director ตัวแทนจาก บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และ คุณสุภัค ลายเลิศ Executive Director & Chief Operation Office ตัวแทนจาก บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ได้ร่วมพิธีส่งมอบโปรแกรมและชุดคอมพิวเตอร์ในโครงการ Subsurface Data for U และพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์สวนหินกลางแจ้ง ณ คณะเทคโนโลยี มข.
ซึ่งสืบเนื่องจากการลงนาม MOU ร่วมกันระหว่างคณะเทคโนโลยี มข. และ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้ให้เกิดการสนับสนุนการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์สวนหินกลางแจ้งในเขตพื้นที่ของคณะเทคโนโลยี มข. และได้รวบรวมตัวอย่างหินขนาดมาจากหลายพื้นที่ในประเทศไทย และจัดการแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาของสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี และเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่มีความสนใจ บุคคลทั่วไปเข้าชม ไม่เก็บค่าเข้าชม การสนับสนุนการเรียน การสอน ข้อมูลธรณีวิทยาและวิศวกรรมปิโตรเลียม ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และฮาร์ดดิสก์ เพื่อให้การศึกษา การวิจัยร่วมกันของสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มข. จึงได้เกิดเป็นโครงการ Subsurface Data for U หรือ Subsurface Data for University เพื่อการส่งเสริมการเรียน การสอน และสร้างนักธรณีวิทยาให้มีศักยภาพสูง การส่งเสริมการศึกษาวิจัยร่วมกัน ให้มีมิติของการศึกษาธรณีโครงสร้างใต้ผิวดิน และการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมที่สำคัญๆ การทำวิจัยร่วมกันการดักจับการกักเก็บคาร์บอน Carbon Capture and Storage (CCS) ของหมวดหินผานกเค้าอายุเพอร์เมียน (ที่มีอายุประมาณ 250 ล้านปี) เป็นชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดย CCS เป็นกระบวนการ การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิดในภาคอุตสาหกรรม นำมากักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินอย่างถาวร ซึ่งไม่ปล่อยกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ ได้กล่าว ขอบคุณทาง ปตท.สผ.ที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนพันธกิจ การผลิตบัณฑิตให้มีศักยภาพสูง และตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตอย่างยั่งยืน รวมทั้งการวิจัยที่ส่งผลกระทบสูงต่อสังคม
ประเทศไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาและพัฒนาโครงการ CCS โดยที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 ได้เห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอนของประเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีปณิธานในการสร้างความยั่งยืนของสังคม และคณาจารย์จากคณะเทคโนโลยีนำองค์ความรู้ทำงานร่วมกับเครือข่ายภาคเอกชนและเครือข่ายศิษย์เก่าเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับประชาคมโลก โดยนำเทคโนโลยีด้านการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน มาประยุกต์ใช้ในภาคพลังงาน และภาคอุตสาหกรรม