ผ่านพ้นไปอย่างยิ่งใหญ่กับการประกวดสุดยอดนวัตกรรมอินเตอร์สรรพสิ่งเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ปีที่ 2 IoT for Agro-Industry competition 2024 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจากทั่วประเทศไทยที่ร่วมส่งผลงานกว่า 35 นวัตกรรมเข้าร่วมประกวดในรอบคัดเลือก และสุดยอด 7 ทีมได้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศเพื่อการแข่งขันสุดเข้มข้นในรูปแบบ Prototype pitching ได้แก่
- ทีม: ARAY โรงเรียน: โยธินบูรณะ กรุงเทพมหานคร
ผลงาน: Smush home
- ทีม: yenta4 โรงเรียน: เซ็นต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา
ผลงาน: นวัตกรรมระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบ IoT
- ทีม: ตากข้าวสมาร์ทโดม โรงเรียน: เทพศิรินทร์ นนทบุรี
ผลงาน: ตากข้าวสมาร์ทโดม
- ทีม: Tungfu mhoota โรงเรียน: เซ็นต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา
ผลงาน: Smart Farm For Cultivation Of Sargassum Brown Seaweed In Seawater For Carbon Absorption
- ทีม: การศึกษาประสิทธิภาพของโซเดียมไฮโปคลอไรท์ฯ โรงเรียน: เซ็นต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา
ผลงาน: การศึกษาประสิทธิภาพของโซเดียมไฮโปคลอไรท์ต่างความเข้มข้นในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
- ทีม: Skw-Nonsleeping โรงเรียน: ศรีสะเกษวิทยาลัย
ผลงาน: นวัตกรรมเร่งการเจริญเติบโตของพืชด้วยสนามแม่เหล็ก
- ทีม: SLC YOUNG GEN โรงเรียน: เบญจมราชรังสฤษฎิ์ และ เซ็นต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา
ผลงาน: เว็บแอปพลิเคชั่นที่บูรณาการ IoT และ Blockchain เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรให้กับผู้ประกอบการ
ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รับโล่เกียรติยศ เกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท ได้แก่ ทีม: Skw-Nonsleeping โรงเรียน: ศรีสะเกษวิทยาลัย กับสุดยอนวัตกรรม “นวัตกรรมเร่งการเจริญเติบโตของพืชด้วยสนามแม่เหล็ก” กับระบบการปลูกพืชอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตด้วยสนามแม่เหล็ก คว้าชัยไปครองในปีนี้
รางวัลรองชนะเลิศได้แก่ ทีม: yenta4 โรงเรียน: เซ็นต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา กับนวัตกรรมที่จะช่วยให้เกษตรผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้เพิ่มผลผลิตแบบเกษตรแม่นยำด้วยระบบโรงเรือนอัจฉริยะ ด้วยผลงาน “นวัตกรรมระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบ IoT” คว้าเงินรางวัล 2,000 บาท และเกียรติบัตร
และสุดยอดทีมมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ทีม คว้ารางวัลชมเชยในการประกวดรอบชิงชนะเลิศนี้ คว้าเงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ ทีม: ตากข้าวสมาร์ทโดม โรงเรียน: เทพศิรินทร์ นนทบุรี ผลงาน: ตากข้าวสมาร์ทโดม, ทีม: Tungfu mhoota โรงเรียน: เซ็นต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา ผลงาน: Smart Farm For Cultivation Of Sargassum Brown Seaweed In Seawater For Carbon Absorption, ทีม: การศึกษาประสิทธิภาพของโซเดียมไฮโปคลอไรท์ฯ โรงเรียน: เซ็นต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา ผลงาน: การศึกษาประสิทธิภาพของโซเดียมไฮโปคลอไรท์ต่างความเข้มข้นในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และ ทีม: SLC YOUNG GEN โรงเรียน: เบญจมราชรังสฤษฎิ์ และ เซ็นต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา ผลงาน: เว็บแอปพลิเคชั่นที่บูรณาการ IoT และ Blockchain เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรให้กับผู้ประกอบการ
ขอแสดงความยินดีกับทุกทีมที่ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม และสร้างสรรค์นวัตกรรรมเพื่อการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมที่ยังยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม