คณะเทคโนโลยี มข. ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. แผนกประสานงานความร่วมมืออุตสาหกรรม ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิต โครงการ “การแปรรูปหัวผักกาดขาวตกเกรด สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนของวิสาหกิจกลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรบ้านทางพาดปอแดง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น”คณะเทคโนโลยี มข. ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. แผนกประสานงานความร่วมมืออุตสาหกรรม ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิต โครงการ “การแปรรูปหัวผักกาดขาวตกเกรด สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนของวิสาหกิจกลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรบ้านทางพาดปอแดง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น”

คณะเทคโนโลยี มข. ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. แผนกประสานงานความร่วมมืออุตสาหกรรม ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิต โครงการ “การแปรรูปหัวผักกาดขาวตกเกรด สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนของวิสาหกิจกลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรบ้านทางพาดปอแดง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น”คณะเทคโนโลยี มข. ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. แผนกประสานงานความร่วมมืออุตสาหกรรม ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิต โครงการ “การแปรรูปหัวผักกาดขาวตกเกรด สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนของวิสาหกิจกลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรบ้านทางพาดปอแดง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น”

  วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยี มข. นำโดย ผศ.ดร. อัมพร แซ่เอียว รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและนวัตกรรมเพื่อสังคม(หัวหน้าโครงการ) คุณเทพฤทธิ์ ปิติฤทธิ์ นักวิชาการวิทยาศาสตร์  ลงพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการลดปริมาณผักตกเกรดและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกหัวผักกาดขาว บ้านทางพาดปอแดง ในโครงการ“การแปรรูปหัวผักกาดขาวตกเกรด สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนของวิสาหกิจกลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรบ้านทางพาดปอแดง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น” โดยนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์หัวผักกาดขาวแช่อิ่มอบแห้งในเชิงพาณิชย์โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการหมักและอบแห้ง ซึ่งสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หัวผักกาดขาวแช่อิ่มอบแห้ง 7 รสชาติ ได้แก่ รสมะม่วง รสมะตูม รสอัญชัน รสกระเจี๊ยบ รสใบเตย รสลำไย และรวมรส   ในการนี้มีทีมนักวิจัยจากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข. ได้ร่วมอบรมให้ความรู้การตลาดออนไลน์  Content Marketing เทคนิคการถ่ายภาพสินค้าเพื่อสร้างความน่าสนใจ การใช้ AI เพื่อช่วยในการสร้างเนื้อหาทางการตลาด และ การออกแบบตราสินค้า   ทั้งนี้นอกจากชาวชุมชนมีทักษะการจัดการผลิต  การแปรรูปผลิตภัณฑ์และการบริหารจัดการด้านการตลาดแล้ว  ยังเป็นการสร้างแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป โดยมีแผนกประสานงานความร่วมมืออุตสาหกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. ได้ร่วมลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าของโครงการดังกล่าว   โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนภายใต้แผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (Area-base Innovation for Community)       ทั้งนี้การดำเนินโครงการสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : การบริการวิชาการเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม (Societal Contributions)  วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ 3 การสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งกับชุมชนและสังคม (Community Support) OKR-38 จำนวนชุมชนที่ได้รับการพัฒนาตามโมเดล BCG  และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development GoalsSDG1, SDG2, SDG4

ขอขอบคุณข้อมูล ข่าว / ภาพ : FB – KKU Science Park และ FB – หยั่ม หยั่ม