วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 คณะเทคโนโลยี มข. นำโดย ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มข. เข้าร่วม “การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ บริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด ร่วมพัฒนานวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์และสังคม” ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการนี้ โดย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อม ด้วย คุณอภิชาต นุชประยูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจชีวภาพบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยก้าวสู่ความยั่งยืน ซึ่งมีผู้แทนพยาน ศ.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มข. ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มข. ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มข. และ คณาจารย์ นักวิจัย แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น)
คณะเทคโนโลยี มข.เข้าร่วม “การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ บริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด ร่วมพัฒนานวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์และสังคม” ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดยความร่วมมือในครั้งนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะให้ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์และสังคม ร่วมมือด้านการศึกษาวิจัย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการ และการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาล รวมถึงประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น รวมทั้งพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลรวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
ในส่วนของบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด จะให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการพัฒนานวัตกรรมทางวิชาการและอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในสายธุรกิจชีวภาพ จะมุ่งเน้นที่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความเป็นไปได้ที่เติบโตอย่างยั่งยืน และการร่วมมือทางวิชาการนี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เรามีโอกาสสร้างผลลัพธ์ที่ดีในอนาคต ซึ่งบริษัทเคทิสเป็นผู้นำทางในวงการชีวภาพ โดยการผลิตผลิตภัณฑ์จากชานอ้อย และโครงการ BCG ในพื้นที่นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ มุ่งมั่นที่จะสร้างความเหมาะสมและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ และยินดีที่มีโอกาสร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ให้กับนักศึกษา และสร้างความร่วมมือที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้สายธุรกิจชีวภาพเติบโตอย่างยั่งยืน
ขอขอบคุณข้อมูล ข่าว / ภาพ : FB – KKU Science Park