คณะเทคโนโลยี ร่วมแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม และให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา

 

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566  เวลา 08.00 – 13.00 น. คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.อลิศรา เรืองแสง รองคณบดีฝ่ายวิจัย และวิเทศสัมพันธ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศรี ปลั่งกลาง อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ทีมนักวิจัย และนักศึกษาจากสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  ร่วมออกบูธแสดงผลงานด้านการวิจัย ไบโอไฮเทน (Bio-hythane) พลังงานชีวภาพภายใต้แนวคิด Bio-Circular-Green (BCG) Economic  

 

 

กระบวนผลิตไบโอไฮเทนด้วยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศแบบสองขั้นตอน (Two-stage anaerobic digestion)

 

วัตุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไบโอไฮเทน (Bio-hythane) ที่แบ่งออกเป็น 3 ยุค ด้วยกัน คือ

  1. ชีวมวลประเภทแป้ง น้ำตาล
  2. ชีวมวลประเภทเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 
  3. ชีวมวลสาหร่ายทะเลหรือสาหร่ายน้ำจืด กระบวนผลิตไบโอไฮเทนด้วยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศแบบสองขั้นตอน (Two-stage anaerobic digestion)

 

ซึ่งเป็นกระบวนการหมักที่จุลินทรีย์กลุ่มผลิตกรดทำหน้าที่ในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ไปเป็นแก๊สไฮโดรเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และกรดไขมันระเหยง่ายในขั้นตอนแรก จากนั้นน้ำทิ้งจากกระบวนการหมักที่อุดมณ์ไปด้วยกรดไขมันระเหยง่ายในขั้นตอนแรกจะถูกนำมาใช้ในการผลิตมีเทนด้วยจุลินทรีย์กลุ่มที่สามารถเปลี่ยนกรดไขมันระเหยง่ายไปเป็นมีเทนในขั้นตอนที่สอง โดยแก๊สไฮโดรเจนที่ได้จากกระบวนการหมักในขั้นตอนแรกและมีเทนที่ได้ในขั้นตอนที่สองเมื่อนำมาผสมกันจะเรียกว่า “ไฮเทน” ที่สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิลได้ และนอกจากนี้ในนิทรรศการยังได้แสดงถึงการนำเอากากเหลือทิ้งจากกระบวนการหมักเพื่อผลิตไฮเทนมาใช้ประโยชน์ในการผลิตถ่านเชื้อเพลิงอัดแข่ง ปุ๋ยบำรุงดิน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด BCG ด้วย

ไบโอไฮเทน (ฺBio-hythane) เชื้อเพลิงชีวภาพจากวัสดุอินทรีย์ภายใต้แนวคิด BCG  ซึ่งได้จากก๊าซที่เกิดจากกระบวนการหมักแบบไร้อากาสสอนขั้นตอน (TWo-stage annaerobic digestion process) ที่มีส่วนผสมระหว่าก๊าซไฮโดรเจน 5-10% ก๊าซมีเทน 50-65% และก๊่ซคาร์บอลไดออกไซด์ 30-40%  จะได้เชื้อเพลิงที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธฺภาพสูงสำหรับนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิล

 

คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภาได้เยี่ยมชมนิทรรศการการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมของคณะเทคโนโลยี

 

 

คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภาได้เยี่ยมชมนิทรรศการการถ่ายทอดเทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่โดดเด่น 4 ด้าน ได้แก่ 1.Bioenergy 2.Health & Wellness 3.Future Feed & Food 4.Education Learning Kit/metaverse มานำเสนอ และได้เยี่ยมชมผลงานวิจัยของคณะเทคโนโลยี ในผลงาน ไบโอไฮเทน (Bio-hythane) พลังงานชีวภาพภายใต้แนวคิด Bio-Circular-Green (BCG) Economic  ชึ่งเป็นการร่วมมือของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของคณะเทคโนโลยี 
 
 
นายวรพงศ์ วงค์อามาตย์ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้อธิบายกระบวนการทำงานขั้นตอนของโรงงานต้นแบบไบโอไฮเทน

ในช่วงบ่าย มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ให้การต้อนรับ คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา พร้อมคณะผู้ติดตาม ได้เข้าเยี่ยมชมพื้นที่โรงงานต้นแบบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่พลังงานยุคใหม่ โรงงานต้นแบบไบโอไฮเทน ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี  ศาสตราจารย์ ดร.อลิศรา เรืองแสง รองคณบดีฝ่ายวิจัย และวิเทศสัมพันธ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศรี ปลั่งกลาง และคณะนักวิจัยหลังปริญญาเอก (Post-doc) ให้การต้อนรับ คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา พร้อมคณะผู้ติดตาม  และมีตัวแทนนักศึกษา โดยมี นายวรพงศ์ วงค์อามาตย์ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้อธิบายกระบวนการทำงานขั้นตอนของโรงงานต้นแบบไบโอไฮเทน (Biohythane Pilot Plant KKU) ซึ่งอยู่ในความดูแลของ ศาสตราจารย์  ดร.อลิศรา เรืองแสง อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โรงงานต้นแบบไบโอไฮเทน (Biohythane Pilot Plant KKU) เป็นหนึ่งในโรงงานต้นแบบที่ให้ความสำคัญในการใช้พลังงานทดแทนจากแก๊สไฮโดรเจนและมีเทน และการใช้พลังงานเป็นศูนย์ จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้รับเกียรติจากคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา  เข้าเยี่ยมชมและให้ความสนใจ

 

 

ข่าว/ภาพ  : ประทีป เทวงษา