คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรม Mango-based Circular Economy ภายใต้โครงการวิจัย “Circular X Creative Economy – แบบจำลองธุรกิจสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการจัดการเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปมะม่วง และเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรอื่นๆ ในจังหวัดขอนแก่น”

เมื่อวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.อัมพร แซ่เอียว รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและนวัตกรรมเพื่อสังคม เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรม Mango-based Circular Economy ภายใต้โครงการวิจัย “Circular X Creative Economy – แบบจำลองธุรกิจสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการจัดการเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปมะม่วง และเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรอื่นๆ ในจังหวัดขอนแก่น”  โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร. สิริมนพร ทิพสิงห์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ชวิศ เกตุแก้ว รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและการต่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ และผู้อำนวยการโครงการวิจัย จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรม Mango-based Circular Economy ภายใต้โครงการวิจัย “Circular X Creative Economy – แบบจำลองธุรกิจสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการจัดการเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปมะม่วง และเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรอื่นๆ ในจังหวัดขอนแก่น” ในการนี้ได้รับเกียรติอย่างยิ่งจาก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการเยี่ยมชมการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน บพข. และคณะวิจัยในโครงการ ร่วมเป็นเกียรติในงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ครั้งนี้ด้วยในการเยี่ยมชมการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ ศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกับคณะเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินโครงการวิจัย Circular X Creative Economy – แบบจำลองธุรกิจสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการจัดการเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปมะม่วง และเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรอื่นๆ ในจังหวัดขอนแก่น โดยมีจุดมุ่งหมายในการยกระดับผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิมที่มีอยู่แล้ว เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นกว่าเดิมให้เป็นนวัตกรรมแบบ Sustainable Innovation และสิ่งสำคัญของความยั่งยืนที่ว่านั้น จะต้องเป็นแนวคิดหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำไปใช้แล้วเกิดประโยชน์อย่างชัดเจนในการรักษาสิ่งแวดล้อม รักษาสมดุล ไม่ว่าจะเป็นเชิงพาณิชย์ที่เกิดประโยชน์สำหรับผู้คน หรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งตอบวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เป็นแหล่งหล่อเลี้ยงความหลากหลาย (Diversity) เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) อันนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรม (Innovation) ด้วยการผสมผสานสังคมศาสตร์ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (Interdisciplinary) ในสภาพแวดล้อมที่เป็นนานาชาติ (Internationalization) โครงการวิจัยดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยเป็นระยะเวลา 1 ปี จากหน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคการบริการ โดยคณะวิจัย มุ่งมั่นตั้งใจแก้ปัญหาเศษเหลือทิ้งจากมะม่วง และบริหารจัดการเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมมะม่วงแปรรูป บนพื้นฐานความคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม และเพื่อพัฒนานวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมมะม่วงแปรรูป ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของงานวิจัยและนวัตกรรมนี้ ที่ส่งผลต่อสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม บัดนี้ คณะวิจัยได้ดำเนินการบรรลุจุดประสงค์ของโครงการวิจัย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของ บพข. แล้ว ในการใช้ประโยชน์ของผลงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาแพลตฟอร์มทางนวัตกรรมในภาคการผลิตและภาคบริการ
 
ขอขอบคุณ ข่าว/ภาพ – ข่าวรอบรั้ว มข  https://th.kku.ac.th/148367/  และ  https://www.facebook.com/Greenerlogy