นักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ IGCP-700: PALAEOZOIC CARBONATE BUILD-UPS IN SOUTH EAST ASIA ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดเลย

นักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ IGCP-700: PALAEOZOIC CARBONATE BUILD-UPS IN SOUTH EAST ASIA ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดเลย

          ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดย รศ.ดร.มงคล อุดชาชน, Prof. Clive Burette และ รศ.ดร.หทัยทิพย์ อุดชาชน พร้อมด้วยหน่วยงานเครือข่ายภายในประเทศและต่างประเทศ จัดกิจกรรมโครงการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ IGCP-700: Palaeozoic Carbonate build-ups in South East Asia (ต่อเนื่อง 5 ปี ระหว่าง ค.ศ. 2021 – 2025) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม และสังเคราะห์ข้อมูลพืดหินปูนมหายุคพาลีโอโซอิกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัย และการวางแผนการใช้ประโยชน์แหล่งหินปูนด้านอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวเชิงอุทยานธรณีของเทือกเขาหินปูนอย่างยั่งยืนในอนาคต พร้อมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ และการศึกษาของเครือข่ายนานาชาติ

สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ความสำคัญถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กร การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาและเทคโนโลยีธรณีที่เป็นปัจจุบัน รวมถึงการพัฒนาด้านการวิจัยโดยนักศึกษาและคณาจารย์ได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงร่วมกัน จึงสนับสนุนโครงการการเข้าร่วมประชุมฯ นำโดยอาจารย์ ดร. ณัฐวิโรจน์ ศิลารัตน์, อาจารย์ ดร.พิทักษ์สิทธิ์ ดิษบรรจง และนักศึกษาเทคโนโลยีธรณีชั้นปีที่ 4 จำนวน 4 ท่าน เข้าร่วมการประชุมฯ IGCP-700 ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 13 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ จังหวัดเลย

ผลการประชุมวิชาการ และการศึกษาธรณีวิทยาภาคสนามนำโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทำให้นักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เข้าร่วมการประชุมฯในครั้งนี้ มีความรู้ ความเข้าใจ และทราบถึงข้อมูลทางธรณีที่เป็นปัจจุบันในด้านตะกอนวิทยา ลำดับชั้นหิน ซากดึกดำบรรพ์ในหินคาร์บอเนต สภาพแวดล้อมบรรพกาล บริเวณอนุทวีปอินโดไชนา มหายุคพาลีโอโซอิก มีการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวกับการเรียน-การสอน และด้านการวิจัย มีการอภิปรายการแปลความหมายทางธรณีวิทยาหน้าหินโผล่จริง และเกิดเครือข่ายการวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนอันได้แก่ ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (คณะผู้จัด), ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาวิชาธรณีศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยาเขตกาญจนบุรี), สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.สผ. จํากัด (มหาชน)

สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงขอขอบคุณคณะผู้จัดงานคือ ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมถึงบริษัท ปตท.สผ. จํากัด (มหาชน), บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุน และหน่วยงานต่างๆที่สนับสนุนมา ณ โอกาสนี้

IGCP700, 1st at Loei, 13-16 December 2021
การประชุมและนำเสนอผลงานวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564 ณ เชียงคานฮิลล์รีสอร์ท อ.เชียงคาน จ.เลย
บรรยากาศการประชุมและนำเสนอผลงานแบบ IGCP700 แบบ on-site และ on-line
นักศึกษาและอาจารย์สาขาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การศึกษาธรณีวิทยาภาคสนามวันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564
Prof. Clive Burette, Dr.Chris Morley และคุณชัยพร ศิริพรไพบูลย์ (จากซ้ายไปขวา)
คุณนเรศ สัตยารักษ์
ซากดึกดำบรรพ์ปะการัง อายุดีโวเนียน
รศ.ดร.มงคล อุดชาชน (คณะผู้จัดฯ), คณาจารย์นำโดยอาจารย์ ดร. ณัฐวิโรจน์ ศิลารัตน์ และนักศึกษาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รศ.ดร.ฐาสิณีย์ เจริญฐิติรัตน์
พืดหินปูนมหายุคพาลีโอโซอิก
การศึกษาหินโผล่บริเวณถนนตัดผ่าน เชียงคาน-ปากชม

แผนที่ธรณีวิทยา
การศึกษาธรณีวิทยาภาคสนามวันพุธที่ 15 ธันวาคม 2564