1.รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Biotechnology
2.ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Science (Biotechnology)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.Sc. (Biotechnology)
3. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
3.1 หลักสูตร
3.1.1 จานวนหน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 1 รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต
4.การศึกษาวิจัยเน้นด้าน
4.1 พลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตเอทานอล บิวทานอล ไฮโดรเจน และไบโอดีเซล การบำบัดของเสียและน้ำเสีย
4.2 อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น โยเกิร์ต ปลาส้ม และแหนม
4.3 การผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพทางอุตสาหกรรม เช่น กรดแลคติก กรดอะซิติก และพลาสติกชีวภาพ
4.4 การผลิตและการประยุกต์ใช้เอนไซม์ (ไซลาเนส เซลลูเลส และไลเปส) ในอุตสาหกรรม
4.5 การเพาะเลี้ยงเซลล์พืชและผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเซลล์พืช
4.6 พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุล
รศ.ดร. วีระ ปิยธีรวงศ์
ประธานกรรมการ
ศ.ดร. ลักขณา เหล่าไพบูลย์
กรรมการ
ศ.ดร. อลิศรา เรืองแสง
กรรมการ
รศ.ดร. พรเทพ ถนนแก้ว
กรรมการ
รศ.ดร. มัลลิกา คงเกียรติขจร
กรรมการ
รศ.ดร. ปรีย์กมล กลั่นฤทธิ์
กรรมการ
ดร. นฤเบศ หล่อวณิชไพศาล
กรรมการและเลขานุการ
1.สำหรับผู้สมัคร แผน ก แบบ ก 1 เป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีทางเทคโนโลยีชีวภาพ จากสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือเป็นผู้กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาตรี และคาดว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาในภาคนั้นแล้ว จะได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
2. สำหรับผู้สมัคร แผน ก แบบ ก 2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี ทางเทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรมศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้องจากสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 50 หรือเป็นผู้กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาตรี และคาดว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาในภาคนั้นแล้ว จะได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
3. ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามข้อ 1) และข้อ 2) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้าศึกษาได้ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
4. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559 หรือเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ปรับปรุงใหม่
ผู้สนใจเข้าสมัครสอบคัดเลือกในระดับบัณฑิตศึกษาคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่นสามารถสมัครได้ที่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
คุณพัชรี ศิริกุลเสถียร
ส่วนงาน : นักศึกษาระดับ ป.โท-เอก นานาชาติ
ห้องงานบริการการศึกษา TE 06 ชั้น 1
E-mail : patsir@kku.ac.th
โทรศัพท์ : 043-202403 ต่อ 44633
โทรศัพท์ภายใน 44633
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
- นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ อาจารย์ ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สถาบันวิจัย ศูนย์วิจัย กระทรวง กรม และสถาบันการศึกษา
- บุคลากรฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ฝ่ายวิจัยและพัฒนา หรือควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมชีวภาพ อาหาร เครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ หรือบริษัทตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์
- เจ้าของกิจการและผู้ประกอบการอิสระในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตเบียร์ สาโท ไวน์
- ที่ปรึกษาให้กับโรงงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ทุนการศึกษา
- คณะเทคโนโลยีสนับสนุนนักศึกษาที่มีผลการเรียนดี แต่มีปัญหาทางด้านทุนทรัพย์ โดยนักศึกษาสามารถสมัครเข้าขอรับทุน จากแหล่งทุนดังต่อไปนี้
- ทุนรัฐบาล : ทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ทุนส่งเสริมการศึกษา
- ทุนคณะเทคโนโลยี : ทุนพัฒนานักศึกษาคณะเทคโนโลยี, ทุนเรียนดีสำหรับนักศึกษาทุกชั้นปี,ทุนแลกเปลี่ยนต่างประเทศ