1.รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารจากพืช
ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Technology and Innovation of Plant-Based Food
2.ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารจากพืช)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): ปร.ด. (เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารจากพืช)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Philosophy (Technology and Innovation of Plant-Based Food)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): Ph.D. (Technology and Innovation of Plant-Based Food)
3.จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แผน 1.1 และ แผน 2.1 48 หน่วยกิต
แผน 1.2 และ แผน 2.2 72 หน่วยกิต
4.รูปแบบของหลักสูตร
4.1 หลักสูตรระดับปริญญาเอก
แผน 1.1 แผน 1.2 แผน 2.1 แผน 2.2
4.2 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางรายวิชา
4.3 การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยเป็นอย่างดี
4.4 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
รศ.ดร. ศุภวรรณ ถาวรชินสมบัติ
รศ.ดร. รัชฎา ตั้งวงค์ไชย
ผศ.ดร. อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์
ผศ.ดร. ปฏิมากร คล้ายประสิทธิ์
ผศ.ดร. อัมพร แซ่เอียว
รศ.ดร. จันทิมา ภูงามเงิน
ผศ.ดร.ปนัดดา นนทนำ
ดร.จินตนา ศรีผุย
ดร.พิมพ์นิภา หิรัณย์สร
ดร.กันติยา เพชรสง
ดร.นัฐวงค์ เฟื่องไพบูลย์
เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาแผน เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิต ศึกษา พ.ศ. 2565 แบ่งการศึกษาระดับปริญญาเอกออกเป็น 2 แผน ได้แก่ แผน 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ และ แผน 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารจากพืช กำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัย ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2566 หมวดที่ 4 การรับเข้าศึกษา (ข้อ 19.4) หลักสูตรปริญญาเอก จะต้องสำเร็จการศึกษาในระดับ (1) ปริญญาโทหรือเทียบเท่า (2) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนดีมาก และมีพื้นความรู้ความสามารถและศักยภาพเพียงพอที่จะทำวิทยานิพนธ์ได้ หรือเป็นไปตามระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่
โดยมีรายละเอียดดังนี้
แผน 1.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญามหาบัณฑิต หรือเทียบเท่า
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50
3) หากคุณสมบัติไม่เป็นไปตามที่กำหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
แผน 1.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาบัณฑิต หรือเทียบเท่า
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50
3) หากคุณสมบัติไม่เป็นไปตามที่กำหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
แผน 2.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญามหาบัณฑิต หรือเทียบเท่า
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50
3) หากคุณสมบัติไม่เป็นไปตามที่กำหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
แผน 2.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาบัณฑิต หรือเทียบเท่า
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50
3) หากคุณสมบัติไม่เป็นไปตามที่กำหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ผู้สนใจเข้าสมัครสอบคัดเลือกในระดับบัณฑิตศึกษาคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่นสามารถสมัครได้ที่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
คุณพัชรี ศิริกุลเสถียร
ส่วนงาน : นักศึกษาระดับ ป.โท-เอก นานาชาติ
ห้องงานบริการการศึกษา TE 06 ชั้น 1
E-mail : patsir@kku.ac.th
โทรศัพท์ : 043-202403 ต่อ 44633
โทรศัพท์ภายใน 44633
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
หลังจากผู้ศึกษาได้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้ สามารถประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการ (เป็นอาจารย์ผู้สอนทางด้านเทคโนโลยีการอาหารในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน) เป็นนักวิจัยในกิจการอุตสาหกรรม ทั้งในส่วนราชการ และเอกชน เป็นพนักงานระดับสูงในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งประกอบธุรกิจด้านอุตสาหกรรมอาหาร
ทุนการศึกษา
คณะเทคโนโลยีสนับสนุนนักศึกษาที่มีผลการเรียนดี แต่มีปัญหาทางด้านทุนทรัพย์ โดยนักศึกษาสามารถสมัครเข้าขอรับทุน จากแหล่งทุนดังต่อไปนี้
ทุนรัฐบาล : ทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ทุนส่งเสริมการศึกษา
ทุนคณะเทคโนโลยี : ทุนพัฒนานักศึกษาคณะเทคโนโลยี, ทุนเรียนดีสำหรับนักศึกษาทุกชั้นปี,ทุนแลกเปลี่ยนต่างประเทศ