โครงการอบรมการจัดการและควบคุมการผลิตแบบอัจฉริยะฯ รุ่นที่ 2
-
- ไร่ข้าวโพดหวานสุวรรณ
- ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์คองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
- พีบีวัลเล่ย์ เขาใหญ่ ไวน์เนอรี่ มวกเหล็ก สระบุรี
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น / น้ำตกโพธิ์หินดาด / อนุสรณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ของกองทัพญี่ปุ่น (เขาแดง) / พระพุทธบาท วัดพระพุทธฉาย
- บจก. อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) โรงงานหนองแค สระบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
- EEC Automation Park ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนากำลังคนด้านออโตเมชั่นและหุ่นยนต์ จ.ชลบุรี
- สวนนงนุช จ.ชลบุรี / เลียบชายหาด เมืองพัทยา
- เยี่ยมชมตลาดหนองมน วิสาหกิจชุมชน จ.ชลบุรี
จากการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์จำนวนผู้เข้ารับบริการวิชาการวิจัยที่เข้าร่วมโครงการและผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์มาตรฐานการทดสอบ ร้อยละ 97 และผลการประเมินกิจกรรมโดยรวมทั้งด้านเนื้อหาหลักสูตร วิทยากร และการจัดการหลักสูตรอยู่ที่ 4.72 จากคะแนนเต็ม 5 สำหรับกิจกรรมศึกษาดูงาน จำนวนผู้เข้ารับบริการวิชาการวิจัยที่เข้าร่วมโครงการและผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์มาตรฐานการทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 88.5 โดยนักศึกษาสามารถผ่านการฝึกอบรมตามเกณฑ์มาตรฐานการทดสอบ จากการประเมินโครงการของการจัดกิจกรรมกรูปแบบการฝึกอบรมและศึกษาดูงานกรณีศึกษาในสถานประกอบการอุตสาหกรรม ด้านเนื้อหา วิทยากร และการจัดการหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 4.61 จากระดับคะแนนเต็ม 5 อย่างไรก็ตามการจัดกิจกรรมในรูปแบบศึกษาดูงานนั้นนักศึกษาไม่ได้เข้าร่วมครบทั้งหมดเนื่องจาก นักศึกษาจะต้องเตรียมตัว/เข้าไปปฏิบัติงานในวิชาสหกิจศึกษาในช่วงเวลาดังกล่าว และมีนักศึกษาบางคนป่วย covid-19 จึงไม่สามารถร่วมเดินทางได้เนื่องจากสถานประกอบการบางแห่งขอผลตรวจ ATK ด้วย จากรายงานกลุ่มของนักศึกษา ชี้ให้เห็นว่านศ.ได้รับแนวคิดเพื่อนำไปต่อยอดในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดธุรกิจที่ไม่ใช่เพียงการผลิตเพื่อขายสินค้าสู่ท้องตลาด แต่เป็นการผลิตเพื่อวิจัยตลาดไปพร้อมกัน
“การทำสมาร์ทฟาร์มของฟาร์มองุ่น การให้น้ำ การดูแล บำรุงรักษาพืช การทำธุรกิจในลักษณะเกษตรอนุรักษ์เปิดให้เที่ยวชมฟาร์ม และมีการขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จากฟาร์มในรูปแบบฟาร์มเชิงอนุรักษ์และเชิงธุรกิจ หรือแม้กระทั่งการปลูกพืชหลากหลายชนิดในฟาร์ม การนำของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น”
“การผลิตแบบอัตโนมัติที่ใช้แรงงานมนุษย์เพียงจำนวนน้อย ศึกษาเรียนรู้ถึงสายการผลิตที่ทันสมัยและระบบความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน”
“การวางแผนการผลิตที่ไม่ผลิตเกินความต้องการของลูกค้าเพื่อลดสตอคสินค้า การสร้างผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากท้องตลาด แม้จะยังมีความต้องการทางตลาดไม่มากก็ตาม”
“การจัดสายการผลิตแบบแนวดิ่ง เพื่อประหยัดและลดการใช้พลังงาน ซึ่งหมายถึงการจัดวางผังโรงงานที่ต้องผ่านการวางแผนมาอย่างดี และเมื่อสายการผลิตหยุดชะงักจะไม่กระทบกับสายการผลิตอื่น”
“การผลิตแบบอัตโนมัติ การจัดการสินค้าคงคลังแบบอัตโนมัติ ที่มีความแม่นยำมาก ผิดพลาดน้อย จัดเก็บโดยย่นระยะเวลาในการทำงานได้เป็นอย่างมาก”
“หากมีผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดด้านการบรรจุ โรงงานจะนำมาทำ re-process เพื่อให้เกิดความสูญเปล่าน้อยที่สุด”
จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่านักศึกษาเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ จากสถานที่จริงที่ไม่สามารถศึกษาได้ในห้องเรียน และจะสามารถประยุกต์ใช้ระบบการจัดการและควบคุมการผลิตแบบอัจฉริยะเพื่อการขจัดความสูญเสียในสายการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ