สอบคัดเลือก วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม 2568
ส่งเอกสารประกอบการสมัคร เพิ่มทีหลังได้จนถึง วันอังคารที่ 15 ก.ค. 2568 เวลา 18:00 น.
มีให้เลือก 4 แห่ง
(1) คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น
(2) โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา
(3) โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลราชธานี
(4) โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จ.สกลนคร
กรุณาอ่านรายละเอียดในประกาศรับสมัครของศูนย์สำหรับข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นทางการ
นักเรียนจะได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าค่ายถัดไปหรือเป็นผู้แทนศูนย์ และได้รับประกาศนียบัตรรับรองการมาร่วมค่าย ต่อเมื่อเข้าร่วมการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง หรือขาดได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง สำหรับค่าย 1 และไม่น้อยกว่า 72 ชั่วโมง หรือขาดได้ไม่เกิน 18 ชั่วโมงสำหรับค่าย 2) และต้องไม่ขาดการปฐมนิเทศในวันแรกของแต่ละค่าย
ผู้แทนศูนย์จะต้องสามารถอยู่ร่วมตลอดระยะเวลาที่จัดการแข่งขัน ซึ่งจะจัดในเดือน พ.ค. ของทุกปี โดยจะต้องอยู่ในบริเวณที่พักและพื้นที่จัดการแข่งขันที่เจ้าภาพเตรียมไว้ให้ตลอดระยะเวลา 5 วัน (รุ่นที่ 5 แข่งขันระดับชาติที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง (ศูนย์ สอวน. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์) วันที่ 4-9 พ.ค. 2568)
รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบเพื่อรับการคัดเลือกเข้าค่ายที่ 1 ปีการศึกษา 2568 หากผู้สมัครพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งเพื่อดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด (โปรดดูกำหนดการในปฏิทินกิจกรรม)
รายชื่อของนักเรียนจำนวน 50 คนแรกที่ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมโครงการ และนักเรียน 15 คนในกลุ่มสำรอง
*โปรดสังเกต!!! ลำดับของนักเรียนเรียงตามอักษรของชื่อแรก
คลิ๊กบนรูปเพื่อดูภาพขยาย หรือคลิ๊กที่นี่เพื่อดาว์นโหลดไฟล์ PDF
ตัวอย่างระเบียบสำหรับผู้เข้าสอบปีการศึกษา 2567 ที่ใช้กับสนามสอบทั้ง 4 แห่ง
กรอกแล้วส่งภาพถ่ายหรือสแกนมาทางอีเมล์ (ดูขั้นตอนในแบบฟอร์ม) ผู้ประสานงานจะนัดหมายวันและเวลาที่สามารถเข้ามาดูคะแนน ในวันนั้น นักเรียนต้องมาพร้อมผู้ปกครองและถือแบบฟอร์มตัวจริงมาด้วย
นักเรียนจะเข้ามาตรวจสอบคะแนนได้ ในวันและเวลาราชการเท่านั้น โดยจะต้องไม่ตรงกับช่วงเวลาที่ศูนย์กำลังจัดค่าย และจะดูได้เฉพาะคะแนนของตนเอง
สมัครออนไลน์ 5 มิ.ย.- 12 ก.ค. 2567
สอบคัดเลือก 31 ส.ค. 2567
ค่าย1 (11 วัน) 15-25 ต.ค. 2567
ค่าย2 (16 วัน) 28 มี.ค. – 12 เม.ย. 2568
แข่งขันระดับชาติ 4-9 พ.ค. 2568
แข่งขันระดับโลก ส.ค. 2568
15 – 25 ต.ค. 2567
อบรม: คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พักแรม: โรงแรม Bayasita (Check in หลัง 14:00 น. 14 ต.ค. / Check out เช้า 25 ต.ค.)
28 มี.ค. – 12 เม.ย. 2568
เนื้อหา: เน้นภาคปฏิบัติการ
สถานที่: คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สนาม: หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ / สวนรุกขชาติน้ำผุดทัพลาว / อุทยานแห่งชาติภูเวียง / อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
พักแรม: The Charm Boutique Resort (Check in หลัง 14:00 น. 28 มี.ค. / Check out เช้า 12 เม.ย.)
เปิดรับออร์เดอร์ครั้งหน้า ประมาณ ก.ย. 2568
ศูนย์ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ. 2562 ภายใต้การกำกับของ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) และดำเนินการโดย สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีหน้าที่จัดการอบรมและคัดเลือกนักเรียนผู้แทนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการวิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศระดับชาติ (Thailand Earth Science Olympiad, TESO) เพื่อเฟ้นหาผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการวิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศระหว่างประเทศ (International Earth Science Olympiad, IESO)
พื้นที่รับผิดชอบ (20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
[10 จังหวัด] เลย, กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, มหาสารคาม, สกลนคร, หนองคาย, อุดรธานี, ร้อยเอ็ด, หนองบัวลําภู, บึงกาฬ,
[6 จังหวัด] นครพนม, มุกดาหาร, ยโสธร, ศรีสะเกษ, อํานาจเจริญ, อุบลราชธานี
[4 จังหวัด] ชัยภูมิ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์
คณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่ของสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี ร่วมกับอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกันจัดการอบรม (ค่ายวิชาการ), ออกข้อสอบ, และคัดเลือกนักเรียนที่จะเป็นผู้แทนระดับภูมิภาค
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมี ศูนย์ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ทั้งหมด 7 แห่ง เป็นศูนย์มหาวิทยาลัย 6 ศูนย์ และศูนย์โรงเรียน 1 ศูนย์ และตั้งแต่ปีการศึกษา 2568 เป็นต้นไป เราจะมีศูนย์มหาวิทยาลัยเพิ่มอีก 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์มหาวิทยาลัยนเรศวร
แต่ละศูนย์จะคัดเลือกและส่งนักเรียนผู้แทน 6 คน มาแข่งขันในระดับชาติ เพื่อหาตัวแทนประเทศไปแข่งในระดับนานาชาติต่อไป ทั้งนี้ ในการแข่งขันระดับชาติครั้งที่ 6 (TESO6) ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นเจ้าภาพ เราจะมีนักเรียนผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 48 คน
ชื่อศูนย์ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ | พื้นที่รับผิดชอบ |
---|---|
1. ศูนย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (คณะวิทยาศาสตร์) | จังหวัดในภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, แพร่, น่าน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา |
2. ศูนย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (คณะวิทยาศาสตร์) ปฏิบัติการตั้งแต่ปีการศึกษา 2568 เป็นต้นไป | จังหวัดในภาคเหนือตอนล่าง 8 จังหวัด กำแพงเพชร, ตาก, นครสวรรค์, พิษณุโลก, พิจิตร, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุตรดิตถ์ |
3. ศูนย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (คณะวิทยาศาสตร์) | จังหวัดในภาคกลางตอนบน 9 จังหวัด ลพบุรี, ชัยนาท, อุทัยธานี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, นนทบุรี, ปทุมธานี จังหวัดในภาคตะวันออก 8 จังหวัด ตราด, จันทบุรี, ระยอง, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว |
4. ศูนย์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี (สาขาธรณีศาสตร์) | จังหวัดในภาคกลางตอนล่าง 9 จังหวัด นครปฐม, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, กาญจนบุรี, สุพรรณบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, สมุทรปราการ |
5. ศูนย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ | จังหวัดในภาคใต้ 14 จังหวัด (มี 4 จังหวัด) ชุมพร, นครศรีธรรมราช, ระนอง, สุราษฎร์ธานี (มี 5 จังหวัด) กระบี่, ตรัง, พังงา, ภูเก็ต, สงขลา (มี 5 จังหวัด) พัทลุง, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สตูล |
6. ศูนย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (คณะเทคโนโลยี) | จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด (มี 10 จังหวัด) เลย, กาฬสินธุ์, ขอนแก่น, มหาสารคาม, สกลนคร, หนองคาย, อุดรธานี, ร้อยเอ็ด, หนองบัวลำภู, บึงกาฬ (มี 6 จังหวัด) นครพนม, มุกดาหาร, ยโสธร, ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ, อุบลราชธานี (มี 4 จังหวัด) ชัยภูมิ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์ |
7. ศูนย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะวิทยาศาสตร์) | กรุงเทพมหานคร 1 จังหวัด |
8. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ และ ร.ร.กำเนิดวิทย์ |
ข้อสอบคัดเข้าค่าย ปีการศึกษา 2563 (รุ่นที่ 1) ข้อสอบฉบับนี้เป็นข้อสอบที่ทุกศูนย์ฯ ใช้คัดเลือกสมาชิกเข้าค่ายในปีแรก ในปีถัดมาจนถึงปัจจุบัน แต่ละศูนย์ฯ จะใช้ข้อสอบที่ออกเองโดยกรรมการของศูนย์ฯ
ปีการศึกษา | ข้อสอบ | เจ้าภาพ | วันที่ทำการแข่งขัน |
---|---|---|---|
ข้อสอบคัดเลือกผู้แทนประเทศเข้าแข่งขัน 6th IESO | มูลนิธิสอวน. | 2555 | |
ข้อสอบคัดเลือกผู้แทนประเทศเข้าแข่งขัน 7th IESO | มูลนิธิสอวน. | 2556 | |
ข้อสอบคัดเลือกผู้แทนประเทศเข้าแข่งขัน 8th IESO | มูลนิธิสอวน. | 2557 | |
ข้อสอบคัดเลือกผู้แทนประเทศเข้าแข่งขัน 9th IESO | มูลนิธิสอวน. | 2558 | |
ข้อสอบคัดเลือกผู้แทนประเทศเข้าแข่งขัน 10th IESO | มูลนิธิสอวน. | 2559 | |
ข้อสอบคัดเลือกผู้แทนประเทศเข้าแข่งขัน 11th IESO | มูลนิธิสอวน. | 2560 | |
2563 | TESO1 (คัดเลือกผู้แทนประเทศไปแข่งขัน 14th IESO Online) | ศูนย์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี | 26-29 มิ.ย. 2564 |
2564 | TESO2 (คัดเลือกผู้แทนประเทศไปแข่งขัน 15th IESO Online) | ศูนย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | 28 พ.ค. – 1 มิ.ย. 2565 |
2565 | TESO3 (คัดเลือกผู้แทนประเทศไปแข่งขัน 16th IESO Online) | ศูนย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | 1-6 พ.ค. 2566 |
2566 | TESO4 (คัดเลือกผู้แทนประเทศไปแข่งขัน 17th IESO China) | ศูนย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | 20-24 พ.ค. 2567 |
2567 | TESO5 (คัดเลือกผู้แทนประเทศไปแข่งขัน 18th IESO China) | รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ (แข่งขันที่ รร.กำเนิดวิทย์ จ.ระยอง) | 4-9 พ.ค. 2568 |
2568 | TESO6 (คัดเลือกผู้แทนประเทศไปแข่งขัน 19th IESO) | ศูนย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ | พฤษภาคม 2569 |
ปี | ข้อสอบ | เจ้าภาพ/เว็บไซต์ | Theme |
---|---|---|---|
2007 | 1st IESO | South Korea, Daegu | Earth for Life, Universe for Future Life |
2008 | 2nd IESO | Philippines, Manila | Cooperation in Addressing Climate Changes |
2009 | 3rd IESO | Chinese Taipei, Taipei | Human and Environment |
2010 | 4th IESO | Indonesia, Jakarta | The Present is the Key to the Future |
2011 | 5th IESO | Italy, Modena | Science, Environment, and Art |
2012 | 6th IESO | Argentina, Olavarría | Energy, Water, and Minerals for Sustainable Development |
2013 | 7th IESO | India, Mysore | The Earth is But One Family |
2014 | 8th IESO | Spain, Santander | Sea and Mountains |
2015 | 9th IESO | Brazil, Poços de Caldas | Soil |
2016 | 10th IESO | Japan, Mie Prefecture | Our Future: Earth & Space |
2017 | 11th IESO | France, Nice | Standing on the Earth, Gazing at the Planets |
2018 | 12th IESO | Thailand, Kanchanaburi | Earth Science for Everything |
2019 | 13th IESO | South Korea, Daegu | Passion for Earth Science…Continued |
2020 | Cancelled due to COVID-19 | ||
2021 | 14th IESO | IGEO (Online) | |
2022 | 15th IESO | Italy (Online) | A Cool Inspiration for an Earth Without Mask Against Global Warming |
2023 | 16th IESO | IGEO (Online) | |
2024 | 17th IESO | China, Beijing | Big Data for Our Earth |
2025 | 18th IESO | China, Ji’ning |
ปีการศึกษา 2563 เข้าแข่งขัน TESO ครั้งที่ 1 ที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
โรงเรียนสิรินธร จ.สุรินทร์
โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา
โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา
ปีการศึกษา 2564 เข้าแข่งขัน TESO ครั้งที่ 2 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) จ.ขอนแก่น
โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม จ.สกลนคร
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.เลย
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) จ.ขอนแก่น
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) จ.ขอนแก่น
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.เลย
ปีการศึกษา 2565 เข้าแข่งขัน TESO ครั้งที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 42 คน จากศูนย์ สอวน. 7 ศูนย์ทั่วประเทศ
โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม จ.สกลนคร
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) จ.ขอนแก่น
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) จ.ขอนแก่น
โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จ.ขอนแก่น
ปีการศึกษา 2566 เข้าแข่งขัน TESO ครั้งที่ 4 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 42 คน จากศูนย์ สอวน. 7 ศูนย์ทั่วประเทศ
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา
โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จ.ขอนแก่น
โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จ.อุบลราชธานี
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร จ.มุกดาหาร
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์
ปีการศึกษา 2567 เข้าแข่งขัน TESO ครั้งที่ 5 ที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์ จ.ระยอง
ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 42 คน จากศูนย์ สอวน. 7 ศูนย์ทั่วประเทศ
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร จ.มุกดาหาร
โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย จ.เลย
โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จ.ขอนแก่น
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร จ.มุกดาหาร
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) จ.ขอนแก่น
วิธีติดต่อเราที่ง่ายที่สุดคือ ส่ง ข้อความ/คำถาม หาเราได้ที่ Facebook ศูนย์ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หรือ email หาเราที่ ieso.kku@gmail.com หรือโทรติดต่อผู้ประสานงาน ผศ.ดร.กฤติกา ตระกูลงาม (อ.ติ้ง) ที่ 090-031-3927
ที่อยู่จัดส่งเอกสาร
ศูนย์ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 ถ.มิตรภาพ หมู่ 16 ต.ในเมือง
อ.เมือง จ.ขอนแก่น
40002
นักเรียนที่ได้ผ่านการอบรมค่าย สามารถใช้หนังสือรับรองเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ที่ออกให้โดยมูลนิธิ สอวน. สำหรับการสมัครเข้าเรียนโดยตรงในรอบ portfolio ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี (ระดับปริญญาตรี) ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ดูตัวอย่างประกาศรับสมัครของปีการศึกษา 2566) รวมทั้งอีกหลายหลักสูตรของมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ (อ่านสิทธิพิเศษสำหรับผู้ผ่านค่าย สอวน.)
นอกจากนี้การมาร่วมอบรมยังถือว่าเป็นการใช้เวลาช่วงปิดเทอมอย่างมีประโยชน์ ได้ความรู้วิชาการ ได้เปิดโลกทัศน์และเรียนรู้ถึงสาขาวิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศซึ่งไม่ได้มีการเรียนการสอนอย่างครบถ้วนในโรงเรียน รวมทั้งได้เพื่อนใหม่ และได้ประสบการณ์การใช้ชีวิตในค่ายวิชาการ
ฟรีตลอดค่ายจ้า ผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าค่ายของเราจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย (กิน, พัก, เดินทาง) ทั้งหมดจาก มูลนิธิ สอวน. โดยมอบเป็นอาหาร (3 มื้อ), อาหารว่าง 2 ครั้ง (เช้าและบ่าย), รถรับส่งจากที่พักไปยังสถานที่อบรม, และที่พักในโรงแรมแบบนอนคู่ นอกจากนี้ นักเรียนยังจะได้รับค่าเดินทางแบบเหมาจ่ายเป็นเงินจำนวน 300 บาท/ค่าย สำหรับเดินทางจากบ้านของนักเรียนมายังที่พักแรมของค่าย
หากจะวางแผนเรื่องการเงิน เราขอแนะนำว่าค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนักเรียนที่อาจมีเพิ่ม (ขึ้นกับนักเรียนแต่ละบุคคล) ได้แก่ ค่าบริการซักผ้า และค่าเสื้อค่าย (เสื้อยูนิฟอร์มของค่ายวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ม.ขอนแก่น ปักชื่อและรุ่น) เป็นต้น