ยินดีต้อนรับเข้าสู่ คณะเทคโนโลยี

โครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีวิทยา

รุ่นที่ 1

ลงทะเบียนวันนี้ – 30 กันยายน 2565
เวลาเรียน6 วัน รวม 42 ชั่วโมง
จำนวนรับ30 คน
ค่าลงทะเบียน5,000 บาท

วิทยากร

คณาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำอธิบายหลักสูตร

       การบูรณาการองค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาร่วมกับวิทยาศาสตร์ และการศึกษา สร้างความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติของโลก ความเป็นมาในอดีตและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การกำเนิดทรัพยากรธรณี ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ อย่างลึกซึ้งเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นพื้นฐานความคิดเพื่อให้เกิดประโยชน์ ในชีวิตประจำวันและถ่ายทอดสู่กันต่อๆ ไปผ่านการศึกษาเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และของจริง ในภาคสนาม เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ และสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์

ข้อมูลหลักสูตร

  • หลักสูตรอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีวิทยา ประจำปี 2565 ไม่ต่ำกว่า 42 ชั่วโมง
  • ระยะเวลาในการเข้าร่วมอบรบเป็นจำนวน  6 วัน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ และนำศักยภาพมาพัฒนาให้เกิดทักษะและประสบการณ์ในการเรียนรู้และสังเกตการณ์ทางธรณีวิทยา
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านข้อมูลความรู้ใหม่ทางด้านธรณีวิทยาจากประสบการณ์ตรงและวิเคราะห์สังเคราะห์ให้เป็นองค์ความรู้ใหม่
  3. เพื่อให้ผู้อบรมนำความรู้ และองค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบใหม่นำมาเป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ผู้สนใจได้รับรู้ต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

  • ครูผู้สอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนมัธยมในสังกัดขององค์การส่วนจังหวัดทั่วประเทศ 
  • กลุ่มผู้ที่เคยเข้ารับการอบรมดาราศาสตร์ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
  • กลุ่มผู้ที่เคยเข้ารับการอบรมวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สสวท. กลุ่มโรงเรียนคุณภาพ สสวท. 

รายละเอียดเนื้อหา

 

ลำดับหัวข้อผลลัพธ์การเรียนรู้
จำนวนชั่วโมง
I) วิชาธรณีวิทยา ภาคทฤษฎี/ภาคปฏิบัติ/ภาคสนาม
1หลักธรณีวิทยาและระบบวิทยาศาสตร์โลกสามารถเห็นภาพรวมของธรณีวิทยากับความเชื่อมโยงของระบบโลกต่างๆ

1.5

2โครงสร้างโลกรู้จักโครงสร้างและองค์ประกอบภายในโลก รวมถึงวิธีการพิสูจน์1.5
3วัสดุโลก แร่ (ภาคทฤษฎี /ภาคปฏิบัติ)รู้จักนิยาม การกำเนิด ลักษณะสมบัติทางกายภาพ การจำแนกชนิด และการนำไปใช้ประโยชน์ของแร่ประเภทต่างๆ และสามารถตรวจสอบแร่เบื้องต้นได้แม่นยำ2
4วัสดุโลก หิน (ภาคทฤษฎี /ภาคปฏิบัติ)รู้จักนิยาม กำเนิด ลักษณะสมบัติทางกายภาพ การจำแนกชนิด และการนำไปใช้ประโยชน์ของหินประเภทต่างๆ และสามารถตรวจสอบหินเบื้องต้นได้แม่นยำ2
5ธรณีแปรสัณฐานรู้จักและเข้าใจภูมิหลังความเป็นมาเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน รวมถึงหลักฐานสนับสนุนทางธรณีวิทยาต่างๆ1.5
6ธรณีวิทยาโครงสร้างเบื้องต้น และกระบวนการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานอธิบายโครงสร้างกับแรงกระทำที่เกี่ยวข้อง และสามารถวิเคราะห์การกำเนิดภูมิลักษณ์ที่เกิดจากกระบวนการบนพื้นผิวโลก 1.5
7ธรณีพิบัติภัยสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานอธิบายปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา เช่น ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว สึนามิ และปรากฏการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2
8การลำดับชั้นหิน ซากดึกดำบรรพ์ และมาตราธรณีกาล+ปฏิบัติการฯรู้จักและเข้าใจการลำดับเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาโดยอาศัยหลักธรณีวิทยาและธรณีวิทยาโครงสร้าง รู้จักการกำเนิด ลักษณะซากดึกดำบรรพ์ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เหตุการณ์สำคัญทางธรณีวิทยา และเข้าใจความหมายของมาตราธรณีกาล3
9แผนที่ภูมิประเทศ และแผนที่ธรณีวิทยา (ทฤษฎี /ปฏิบัติการฯ)รู้จักและเข้าใจลักษณะ ที่มา ประโยชน์และการอ่านแผนที่ฯ + ปฏิบัติการฯ3
10ธรณีสัณฐานและธรณีวิทยาประเทศไทยรู้จักและเข้าใจลักษณะสภาพธรณีสัณฐานและธรณีวิทยาประเทศไทยเบื้องต้น1.5
11ทรัพยากรธรณีรู้จักและเข้าใจลักษณะสภาพและการกำเนิด ทรัพยากรธรณี และแหล่งทรัพยากรธรณีเบื้องต้นของประเทศไทย1.5
II) วิชาอุตุนิยมวิทยา
1พลังงานและบรรยากาศโลกรู้จักและเข้าใจระบบพลังงานและบรรยากาศโลก2
2การตรวจอากาศรู้จักและเข้าใจระบบการตรวจอากาศ1.5
3ระบบสภาพอากาศรู้จักและเข้าใจระบบสภาพอากาศของโลกและของประเทศไทย2
4การพยากรณ์อากาศเข้าใจระบบพิกัดเส้นศูนย์สูตรฟ้า จุดต่างๆ ที่สำคัญในระบบพิกัด1.5

ลำดับสถานที่ศึกษาเรียนรู้จำนวนชั่วโมง
1กิจกรรมฐานการเรียนรู้  (ภาคสนาม)ธรณีวิทยาตะกอน บ้านโนนรัง อำเภอเเมือง จังหวัดขอนแก่นศึกษาแหล่งตะกอนกรวด และซากไม้กลายเป็นหิน บ้านโนนรัง อำเภอเเมือง จังหวัดขอนแก่น4
2

กิจกรรมฐานการเรียนรู้  (ภาคสนาม)

 ณ เขื่อนอุบลรัตน์

ศึกษาธรณีวิทยาหินทราย หินทรายแป้ง กลุ่มหินโคราช ชุดหินภูกระดึงและชุดหินพระวิหาร ยุคจูแรสสิค(Jurassic) 3
3

กิจกรรมฐานการเรียนรู้  (ภาคสนาม)

ณ อุทยานแห่งชาติภูเวียง

ศึกษาธรณีวิทยาหินทราย หินทรายแป้ง กลุ่มหินโคราช ชุดหินเสาขัว ชุดหินภูพาน ชุดหินโคกกรวด และชุดหินมหาสารคาม ยุคจูแรสสิคและยุคครีเตเชียส (Jurassic and Cretaceous) 8
4

กิจกรรมฐานการเรียนรู้  (ภาคสนาม)

ณ อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน

ศึกษาธรณีวิทยาหินปูน ยุคเพอร์เมียน (Permian)3
5

กิจกรรมฐานการเรียนรู้ (ภาคสนาม)

ตามเส้นทางบ้านห้วยสนามทราย อำเภอคอนสาร-บ้านโคกมน อำเภอน้ำหนาว

หินทราย หินทรายแป้ง หินดินดาน กลุ่มหินโคราช ชุดหินห้วยหินลาดยุคไทรแอสซิก (Triassic)8

การวัดและประเมินผล

การวัดและประเมินผลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

          ส่วนที่ 1 ระยะเวลาเข้าอบรม โดยผู้เข้าร่วมจะต้องมีเวลาการเข้าอบรมทั้งการบรรยายและการออกภาคสนาม อย่างละ 80 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเวลาทั้งหมด จึงจะถือว่ามีผลสัมฤทธิ์ผ่านการประเมินในส่วนนี้

          ส่วนที่ 2 การประเมินผลโดยการทดสอบความรู้ผ่านการทำข้อสอบ ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งการอบรมแบบบรรยาย และการออกภาคสนาม โดยผู้เข้าอบรมจะต้องมีคะแนนมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ของคะแนนทั้งหมด จึงจะถือว่ามีผลสัมฤทธิ์ผ่านการประเมินในส่วนนี้

          ทั้งนี้ผู้เขาอบรมจะต้องมีผลการประเมินผ่านทั้ง 2 ส่วน จึงจะถือว่ามีผลสัมฤทธิ์ผ่านการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านธรณีวิทยา