ยินดีต้อนรับเข้าสู่ คณะเทคโนโลยี

หลักสูตรเทคโนโลยีสมัยใหม่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร

รุ่นที่ 2

ลงทะเบียนวันนี้ – 20 พฤศจิกายน 2565
เวลาเรียนมกราคม – พฤษภาคม 2566
จำนวนรับ40 คน
ประกาศรายชื่อ

ติดตามการประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก และสำรองผ่านทางเฟซบุ๊ก TE LifelongEd ลิงก์
https://www.facebook.com/telifelong
และจะแจ้งรายละเอียดการอบรมผ่านทางอีเมล

รุ่นที่ 1

ลงทะเบียนปิดรับลงทะเบียน 20 สิงหาคม 2564
เวลาเรียน4 กันยายน 2564 – 30 มกราคม 2565
จำนวนรับ55 คน
ประกาศรายชื่อติดตามการประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือก และสำรองผ่านทางเฟซบุ๊ก TE Lifelong Education

คำอธิบายหลักสูตร

เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วยการเรียนรู้ในศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมเกษตร และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรม และจัดการศึกษาโดยเน้นการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน และบุคลากรจากสถานประกอบการ และภาคอุตสาหกรรม

ข้อมูลหลักสูตร

รูปแบบหลักสูตร

ชุดวิชา จำนวน 3 ชุดวิชา

จำนวนหน่วยกิต

9 หน่วยกิต

เวลาในการเรียน

266 ชั่วโมง

วันเรียน

วันเสาร์-อาทิตย์

เวลาเรียน

09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น.

อาจารย์ผู้ประสานวิชา

ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์
ผศ.ดร. ปฏิมากร พะสุวรรณ
ดร.นัฐวงค์ เฟื่องไพบูลย์

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตและกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพและสมรรถนะสูง สำหรับการทำงานในภาคอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้มีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น
  2. เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการศาสตร์ การเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติในสภาพจริงและทักษะชีวิตของสังคมดิจิทัล เพื่อสร้างสมรรถนะเฉพาะด้านที่จำเป็นและตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรมให้แก่บัณฑิตและหรือกำลังคนของภาคการผลิต
  3. เพื่อสร้างภาคีความร่วมมือกับสถานประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรมในการร่วมกันสร้างบัณฑิต และกำลังคนที่มีสมรรถนะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคการผลิตโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมเกษตร

กลุ่มเป้าหมาย

บุคลากรจากสถานประกอบการ ภาคอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติงาน มีประสบการณ์ในการทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ต้องการปรับเปลี่ยนสมรรถนะ โดยสถานประกอบการ หรือภาคอุตสาหกรรมที่สนใจเข้าร่วมโครงการประกอบด้วย บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด และกลุ่มธุรกิจในเครือน้ำตาลมิตรผล บริษัทซีพีแรม จำกัด บริษัทเบทาโกร (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)

รายละเอียดเนื้อหา รุ่นที่ 2

โมดูล 1นวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร3 หน่วยกิต
 Innovative Product Design and Development in Food Industry 
โมดูล 2ความปลอดภัยของอาหารในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร3 หน่วยกิต
 Food Safety in Food Processing Industry 
โมดูล 3นวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปในอุตสาหกรรมอาหาร3 หน่วยกิต
 Innovative Processing Technology in Food Industry) 

รายละเอียดเนื้อหา รุ่นที่ 1

โมดูล 1นวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร3 หน่วยกิต
 Innovative Product Design and Development in Food Industry 
โมดูล 2ความปลอดภัยของอาหารในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร3 หน่วยกิต
 Food Safety in Food Processing Industry 
โมดูล 3ไบโอรีไฟเนอรีในอุตสาหกรรมเกษตร3 หน่วยกิต
 Biorefinery in Agroindustry 

การประเมินผลการเรียนรู้

การสอบวัดความรู้ และทักษะทางปัญญา ร้อยละ 35
งานที่ได้รับมอบหมาย ร้อยละ 35
การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ร้อยละ 20
ความรับผิดชอบ ร้อยละ 10

อาจารย์ผู้สอน

ภาพกิจกรรมรุ่นที่ 1/2564

ความประทับใจของผู้เรียน

  1. วิทยากรทุกท่านมีความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์กับผู้เข้าอบรมดีมากค่ะ ทีม Admin ท่าน อาจารย์มีความตั้งใจและถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เข้าเรียนเต็มที่ดีมากๆ ความรู้ที่ได้รับ สามารถนำไปถ่ายทอดและพัฒนาในการทำงานได้จริง
  2. ความใส่ใจในการสอนของอาจารย์ รวมทั้งการ update ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของคณาจารย์และทีมวิทยากร เป็นที่น่าชื่นชมมาก
  3. บริหารจัดการหลักสูตรดีมาก​ เพราะมีทั้งเนื้อหาทางเทคนิคและด้านการบริหารจัดการที่สามารถเอาไปใช้งานได้​จริง​ วิทยากรทุกท่านให้คำอธิบายได้ชัดเจน
  4. การส่งอุปกรณ์​ทดสอบด้านความปลอดภัยให้ผู้เข้าเรียนทดลองใช้เป็นแนวคิดที่ดี และบ่งบอกถึงความพยายามของหลักสูตรที่ทุ่มเทกับผู้เข้าเรียนเป็นอย่างมาก
  5. การมีส่วนร่วมของผู้เรียน เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่ส่งผลโดยตรงต่อตัวเองและหน่วยงานที่ทำงานอยู่ ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจไปในทางทิศทางเดียวกันเป็นอย่างมาก และได้มุมมองใหม่ๆ จากทางวิทยากรที่ช่วยแนะนำข้อมูลต่างๆ ให้ครับ
  6. ความชัดเจนในการประเมินอันตรายด้านความปลอดภัยอาหาร ​และเอกสารประกอบการบรรยาย